ในเส้นทางการได้ยินของเด็กแต่ละคนอาจมีบางอย่างที่เหมือน หรือ ต่างกันออกไป แต่สุดท้ายแล้วเป้าหมายของทุกคนก็คือการที่ได้ประสบความสำเร็จในการได้ยิน และใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข ซึ่งในบทความนี้เราจะพบกับน้อง ๆ จาก 2 บ้าน : ครอบครัวของน้องคลาร่า และน้องเลียม ผู้ใช้งานประสาทหูเทียมตัวจิ๋วจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่จะมาเล่าผ่านมุมมองของคุณพ่อ และคุณแม่ของน้อง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ลูกก่อนเข้าเรียนอนุบาล และโรงเรียน รวมไปถึงความรู้สึก และการรับมือของคนในบ้านตั้งแต่วันที่รู้ว่าน้องสูญเสียการได้ยิน การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน จนไปถึงการสนับสนุนพวกเขาในด้านต่าง ๆ อีกด้วย

เส้นทางสู่การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมของน้องคลาร่า และน้องเลียม

1. เรื่องราวของน้องคลาร่า

หลังจากที่คุณแจสมิน คุณแม่ของน้องคลาร่าทราบว่าลูกสาวของเธอสูญเสียการได้ยิน คุณแจสมินจึงอยากให้น้องได้ยินเสียง และเพลิดเพลินไปกับโลกของเสียงได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เมดเอล : คุณแม่ทราบได้ยังไงว่า น้องคลาร่าสูญเสียการได้ยิน?

คุณแจสมิน : เราทราบว่าน้องสูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิด จึงได้ใช้งานเครื่องช่วยฟังในตอนแรก เมื่อเธออายุได้ 7 เดือนการตรวจทางพันธุกรรมแสดงให้เห็นว่า น้องไม่สามารถกลับมาได้ยินได้อีกแล้ว

เมดเอล : ทำไมคุณแม่ถึงตัดสินใจให้น้องเข้ารับผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม?

คุณแจสมิน : หลังทราบว่าน้องสูญเสียการได้ยินถาวร เราจึงได้ตัดสินใจให้น้องเข้ารับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม เพื่อที่จะช่วยให้น้องได้รับโอกาสที่ดีที่สุดในชีวิต

เมดเอล : หลังผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมมาชีวิตของน้องคลาร่าเป็นอย่างไรบ้าง?

คุณแจสมิน : ปัจจุบัน น้องคลาร่าอายุ 7 ขวบแล้ว น้องเป็นเด็กที่กระตือรือร้นมาก เวลาว่างเธอชอบออกไปเล่นสกี ขี่จักรยาน และใช้เวลาอยู่กับเพื่อนๆ กับเครื่องประมวลเสียง SONNET 2 ซึ่งทำให้เธอกลับมาได้ยินเสียง และใช้ชีวิตได้อย่างเด็กคนอื่น ๆ

2. เรื่องราวของเลียม

แพทริก คุณพ่อของน้องเลียม เขายังคงจำคำพูดแรกของลูกชายหลังจากที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมได้ แต่มีช่วงหนึ่งที่ครอบครัวรู้สึกหนักใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องการหาทางแก้ไขให้กับเลียม

เมดเอล : คุณพ่อทราบได้ยังไงว่า น้องเลียมสูญเสียการได้ยิน?

คุณแพทริก : น้องเลียมเขาสูญเสียการได้ยินตั้งแต่อายุได้ 2 ขวบจากการติดเชื้อในปอด หลังจากเขาได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งเราสังเกตเห็นว่าการได้ยินของเขาลดลง หลังจากนั้นก็ได้รับผลการทดสอบการได้ยินยืนยันว่าเขาสูญเสียการได้ยิน

เมดเอล : ทำไมคุณพ่อถึงตัดสินใจให้น้องเข้ารับผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม?

คุณแพทริก : พวกเรารู้สึกตกใจมากพอรู้ว่าน้องเลียมเขาสูญเสียการได้ยิน แต่เมื่อต้องหาวิธีแก้ไข ทันทีที่เรารู้เรื่องประสาทหูเทียมจากคุณหมอ เราก็ตัดสินใจให้น้องเข้ารับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม และได้ใช้เครื่องประมวลเสียง SONNET 2 พวกเรารู้ว่าเราต้องอยู่ข้าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนเขาในการพัฒนาการพูดของเขา

เมดเอล : หลังผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมมา ตอนนี้ชีวิตของน้องเลียมเป็นอย่างไรบ้าง?

คุณแพทริก : ปัจจุบัน น้องเลียมอายุ 14 ปีแล้ว ตอนที่เขาไปโรงเรียน เขาชอบเล่นฟุตบอล และฟลอร์บอลมาก ชอบฟังเพลง ซึ่งเขารู้สึกมีความสุขทุกอย่างที่เขาได้ทำอะไรที่เขาชอบ และได้มีส่วนร่วมกับคนอื่น ๆ ระหว่างที่อยู่ในโรงเรียน 

การฟื้นฟูการได้ยินก่อนเข้าเรียนอนุบาล และโรงเรียน

การเตรียมตัวเข้าเรียนอนุบาล หรือ โรงเรียนนั้น ไม่ใช่แค่การเตรียมกระเป๋า หนังสือ เท่านั้น สำหรับน้องคลาร่า และน้องเลียม การฟื้นฟูการได้ยินถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการช่วยให้เด็ก ๆ เติบโตในสภาพแวดล้อมใหม่ได้ โดยเริ่มต้นจาก : 

  • หลังจากเปิดใช้งานประสาทหูเทียม น้องคลาร่า และน้องเลียม ได้ติดตั้งเครื่องประมวลเสียงให้เหมาะกับระดับความต้องการของพวกเขา
  • ก่อนที่จะเข้าเรียนอนุบาล เด็กๆ ทั้งสองคนได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ในชีวิตประจำวันคนในครอบครัวต่างช่วยกันฝึกพูด และฝึกฟังแบบสนุกสนาน พูดคุยกับเขาบ่อย ๆ และกระตุ้นการได้ยินเขาในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เวลาดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมกับเขา
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดให้การสนับสนุนครอบครัวของพวกเขาตลอดการเส้นทางการได้ยิน

การเตรียมตัวเข้าเรียนอนุบาล และโรงเรียน

การเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนอนุบาล หรือ โรงเรียนอย่างราบรื่นนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองของน้องคลาร่า และน้องเลียม นี่คือเคล็ดลับสำคัญของพวกเขา :

  • พูดคุยกับครูอย่างสม่ำเสมอ : คุยกับครู เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับแผนการสอนที่กำลังสอนน้อง
  • ทบทวนเนื้อหากับลูก : ดูหัวข้อที่เรียน และเพลงในห้องเรียนล่วงหน้าของลูก เพื่อให้ลูกเข้าใจคำศัพท์ได้ดีขึ้น
  • แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการได้ยินของลูก : บอกครู และเพื่อนนักเรียนเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน และเครื่องประมวลเสียงของลูก รวมถึงวิธีที่พวกเขาสามารถช่วยน้องได้ดีที่สุด
  • สร้างแรงจูงใจให้ลูก : พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับความสำคัญ และความสนุกของการได้ยินและการพูดในชีวิตประจำวัน
  • ส่งเสริมทัศนคติเชิงบวก : สนับสนุนให้ลูกเปิดใจเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินและเครื่องประมวลเสียง ช่วยให้ลูกเรียนรู้ที่จะพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ของตัวเองและตอบคำถามได้อย่างมั่นใจ
  • สอนให้รู้จักเครื่องประมวลเสียง : กระตุ้นให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องประมวลเสียง และวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้เอง

การสนับสนุนระหว่างการเรียน

เมื่ออยู่ในห้องเรียน การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กที่ใช้งานประสาทหูเทียม (Cochlear Implants) ไม่ใช่แค่ครอบครัวเท่านั้นที่สามารถช่วยเหลือลูกของคุณได้ แต่ครูและเพื่อนร่วมชั้นก็สามารถช่วยได้เช่นกัน :

  1. **อุปกรณ์ช่วยการฟัง ** : ครูสามารถใช้เครื่องประมวลเสียง เช่น ระบบ AudioLink เพื่อให้ลูกได้ยินเสียงครูชัดเจนจากทุกที่ในห้องเรียน
  2. **การพักฟัง** : ครูควรกระตุ้นให้ลูกพักฟังเป็นระยะ เพื่อป้องกันความเหนื่อยล้าจากการฟัง ลูกสามารถถอดเครื่องประมวลเสียงได้ในช่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ในวันเรียน และครูยังสามารถกระตุ้นให้ลูกขอความช่วยเหลือหากไม่เข้าใจบางสิ่งบางอย่าง
  3. **ระบบเพื่อนช่วย ** : การมีเพื่อนในห้องเรียนที่คอยช่วยเหลือในการสื่อสาร เช่น ในกรณีฉุกเฉิน หรือ ในการรวมตัวใหญ่ ๆ หรือ การเรียนการสอนด้านกีฬานอกห้องเรียนจะเป็นประโยชน์มาก

การสนับสนุนลูกที่ใช้งานประสาทหูเทียมขณะเรียนอนุบาล หรือ โรงเรียนต้องอาศัยการเตรียมตัวอย่างรอบคอบ การสื่อสารที่เปิดกว้าง และการสนับสนุนเขาอย่างต่อเนื่อง หวังว่าคำแนะนำ และมุมมองจากครอบครัวของน้องคลาร่า และน้องเลียม อาจช่วยให้เด็ก ๆ ของคุณเตรียมความพร้อมได้ดีก่อนเปิดปีการศึกษา

หากต้องการเคล็ดลับเพิ่มเติม หรือ สอบถามรายละเอียดสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลท่าน หรือ Facebook : hearLIFE Thailand ได้เลยนะคะ

ข้อมูลจาก MED-EL

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *