ในฐานะผู้ปกครอง การเตรียมบุตรหลานของเราให้พร้อมสำหรับการผ่าตัดฝัง ประสาทหูเทียม อาจเป็นสิ่งที่เรากังวลใจไม่มากก็น้อยว่าการรักษาวิธีนี้จะเป็นอย่างไรหรือมีการหาข้อมูลว่าสิ่งใดที่ควรทำและไม่ควรทำ ไม่ว่าจะทั้งบนอินเทอร์เน็ต หรือคนรอบข้าง ซึ่งบทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยให้กับหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นช่วง ก่อน ระหว่าง และหลังการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมว่าจะเป็นอย่างไร เพื่อให้คุณและลูกมีความเข้าใจ และสบายใจมากขึ้นก่อนวันนั้นจะมาถึง
โดยหัวข้อหลัก ๆ ที่เราจะนำกล่าวถึง ได้แก่..
- ก่อนการผ่าตัด
- ในวันผ่าตัด
- ระหว่างการผ่าตัด
- หลังการผ่าตัด
1. ก่อนการผ่าตัด
- เตรียมคำถามของคุณให้พร้อม : จดคำถามที่คุณสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัด เพื่อถามแพทย์ในระหว่างการให้คำปรึกษา เพราะบางครั้งคุณอาจไม่กล้าที่จะถามหรือกังวลจนลืมว่าอยากถามสิ่งใด เมื่อได้คำตอบสามารถจดไว้ได้เผื่อคุณลืม หรือเก็บไว้อ่านในภายหลัง
- สื่อสาร : คุณอาจต้องเตรียมประโยคหรือคำพูดสำหรับญาติและเพื่อนที่คนใกล้ชิดในระหว่างการผ่าตัด เพื่อพูดคุย อัปเดตข้อมูล และเบี่ยงเบนความสนใจของคุณในขณะที่รอการผ่าตัดของลูก นอกจากนี้ยังเป็นสร้างความมั่นใจ และรับกำลังใจดี ๆ จากคนรอบข้างของคุณอีกด้วย
- ยึดติดกับกิจวัตร : รักษากิจวัตรประจำวันของบุตรหลานในวันก่อนและในวันผ่าตัดให้มากที่สุด สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกของคุณผ่อนคลายความรู้สึกก่อนที่จะได้รับการรักษา
2. ในวันผ่าตัด
- เป็นพลังบวก : มีส่วนร่วมกับลูกผ่านผ่าการสื่อสารด้วยกิริยา ท่าทาง น้ำเสียง วัตถุ การใช้สัญญาณต่าง ๆ เพื่อช่วยให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย การแสดงออกทางสีหน้า การกอด และท่าทางที่มั่นใจสามารถช่วยให้ลูกของคุณรู้สึกผ่อนคลายได้
- ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด : หากเด็กใช้งานเครื่องช่วยฟัง แนะนำให้พวกเขาสวมใส่ให้นานที่สุดเพื่อช่วยให้เขาได้ยินเสียง และกระตุ้นในการสื่อสาร
- ใช้ของเล่นและเพลงให้เกิดประโยชน์สูงสุด : ให้นำของเล่นชิ้นโปรดของลูกคุณไปด้วย และเปิดเพลงหรือบทกลอนที่เขาชอบ เพื่อทำให้ลูกของคุณไม่ตกใจในสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล
3. ระหว่างการผ่าตัด
- อยู่อย่างสบาย : อย่าลืมแพ็กสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้รู้สึกสบายขณะรอระหว่างการผ่าตัด นี่อาจรวมถึงผ้าห่มบางๆ สิ่งที่ต้องทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ และการส่งข้อความหรือพูดคุยกับเพื่อน และคนในครอบครัว
4. หลังการผ่าตัด
- สร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ : พูดคุย และรับฟังประสบการณ์จากครอบครัวผู้อื่นเกี่ยวกับการผ่าตัดประสาทหูเทียมของบุตรหลานพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นจากคนรู้จัก จากสถาบันการฝึก เผื่อได้รับคำแนะนำและเคล็ดลับที่คุณสามารถนำมาปรับใช้กับบุตรหลานของคุณ และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ “การฝึก” ทั้งจากโรงเรียน สถาบัน หรือที่บ้าน จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ลูกน้อยที่ใช้งานประสาทหูเทียมนั้น ได้มีเรียนรู้ ปรับตัว และมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้นั่นเอง
ข้อมูลจาก MED-EL
No responses yet