ความสามารถของเด็กทั่วไปจะแสดงออกในลักษณะการพูด การอ่านและการเขียน ส่วนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะแสดงออกในลักษณะการพูด การอ่าน การเขียน และท่าทาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการบกพร่องทางการได้ยิน และปัจจัยต่างๆอีกหลายประการที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ดังต่อไปนี้
1. ความมากน้อยของความบกพร่องทางการได้ยิน 
เด็กแต่ละคนมีระดับความบกพร่องทางการได้ยินไม่เท่ากัน เปรียบเทียบเช่น หากสูญเสียการได้ยินน้อยจะสามารถมีพัฒนาการทางภาษาได้รวดเร็วกว่าเด็กที่สูญเสียการได้ยินมาก
2. นิสัยของเด็ก 
นิสัยใจคอเป็นสิ่งที่แตกต่าง เด็กที่มีความสนใจและรักการพูดจะมีพัฒนาทางภาษาได้ดี เพราะกล้าพูดกล้าแสดงออก ส่วนเด็กที่มีความเขินอาย และเก็บตัวจะมีแนวโน้มพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้ากว่า
3. ความสนใจของพ่อแม่และผู้ปกครอง 
ความสนใจของพ่อแม่และผู้ปกครองคือส่วนสำคัญที่มีอิทธิพลมากถ้าพ่อแม่และผู้ปกครองสนใจที่จะดูแลให้ลูกพูดและทำตามคำแนะนำของครูให้ลูกพูดอยู่ตลอดเวลา ให้ความรัก ไม่ทอดทิ้ง และส่งเสริมการศึกษาของลูกย่อมช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น
4. ครู 
การสอนไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะขณะเดียวกันคุณครูผู้สอนต้องมีความอดทน มีความเมตตากรุณา รักเด็ก ช่างพูดช่างคุยกับเด็กเสมอ แม้ในระยะแรกจะรู้สึกว่าเป็นผู้พูดอยู่ฝ่ายเดียว
5. การเริ่มต้นฝึกพูดและฝึกฟัง 
การจะเดินต้องมีการฝึกเดินเช่นไรการฝึกพูดและฟังก็เช่นเดียวกัน ถ้าเด็กเริ่มต้นพูดเร็วการพัฒนาการทางภาษาก็จะเร็วตามไปด้วย
6. อวัยวะในการพูด 
อวัยวะในการพูด เช่น ช่องปาก ลิ้น เพดาน ลิ้นไก่ ผนังคอ บกพร่องก็ทำให้ไม่สามารถพัฒนาภาษาพูดได้
7. สติปัญญา 
สติปัญญาเป็นสิ่งสำคัญอีกประการ เด็กที่มีสติปัญญาดีย่อมมีความเข้าใจและรับรู้ภาษาได้ดีและเร็วกว่าเด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำ
จะสังเกตได้ว่าการพูด การอ่าน การเขียนของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินแทบจะไม่ต่างกับเด็กปกติทั่วไป ทั้งนี้การบกพร่องทางการได้ยินไม่ใช่สิ่งเดียวที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก การใส่ใจของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู หรือ แม้แต่นิสัยของเด็กเองก็ถือเป็นส่วนสำคัญในลำดับต้นๆ และทุกสิ่งล้วนเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ดังนั้นหากผู้ปกครองท่านใดต้องการให้เด็กๆมีพัฒนาการทางภาษาที่รวดเร็วอย่าลืมใส่ใจในการฝึกพูดฝึกฟังของเด็กๆกันนะคะ
No responses yet