ส่วนประกอบแรก ไมโครโฟน (Microphone) จะอยู่ภายใน เครื่องช่วยฟัง โดยจะทำหน้าที่รับเสียงจากภายนอก มีช่องเปิดที่ด้านนอกของตัวเครื่องเพื่อรับฟังเสียง ช่องเปิดนี้จะอยู่ด้านหน้า ด้านบน หรือด้านหลัง ขึ้นอยู่กับเครื่องช่วยฟังแต่ละชนิด โดยจะทำหน้าที่รับเสียงจากภายนอกแล้วเปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้า
ชนิดของไมโครโฟนมี 3 ชนิด ได้แก่
ไมโครโฟนแบบใช้สนามแม่เหล็ก (Magnetic)
ไมโครโฟนแบบเซรามิค (Ceramic)
ไมโครโฟนแบบไฟฟ้า (Electret) แต่ในปัจจุบันไมโครโฟนไฟฟ้า เป็นชนิดที่ให้ประโยชน์มากที่สุด และถูกนำมาใช้ในเครื่องช่วยฟังสมัยใหม่ทุกชนิด
ลักษณะที่ดีของไมโครโฟน ( Killion & Carlson,1974 ) มีดังนี้
- ให้การตอบสนองดีต่อช่วงความถี่ที่กว้าง แม้แต่ที่ระดับความเข้มเสียงต่ำ
- มีความไวน้อยต่อการสั่นสะเทือน ( Mechanical vibration )
- มีเสียงรบกวนน้อย
ปัจจุบันเครื่องช่วยฟังได้มีการพัฒนาปรับปรุงไมโครโฟน เพื่อให้รับเฉพาะเสียงที่ต้องการ เรียก Microphone ชนิดนี้ว่า Directional Microphone จะตอบสนองต่อเสียงที่มาจากด้านหน้าได้มากกว่า และเป็นประโยชน์สำหรับการช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องช่วยฟังได้ยินเสียงดีขึ้นในที่ที่มีเสียงรบกวน โดยการให้ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังหันตำแหน่งไมโครโฟนไปยังทิศทางของเสียงที่ต้องการ และหันออกจากเสียงรบกวนที่ไม่ต้องการ
Electret microphone ทำมาจาก permanent electrically charged element (the electret) diaphragm ที่เคลือบด้วยโลหะซึ่งมีความบางมากอยู่เหนือ electret material เมื่อเสียงกระทบกับ diaphragm การสั่นสะเทือนจะทำให้เกิดการอัดไฟแบบขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งจะถูกขยายโดย transistor ในส่วนของไมโครโฟนและถูกส่งไปยังส่วนประกอบต่อไปในเครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยฟังบางเครื่องจะมี telecoil (T-coil) สำหรับใช้กับโทรศัพท์ telecoil ผ่านไมโครโฟนไปโดยการนำพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งสร้างจากโทรศัพท์หรือ induction loop และส่งตรงไปยังภาคขยายของเครื่องช่วยฟัง
ส่วนประกอบที่ 2 คือ เครื่องขยายเสียง (Amplifiers) ทำหน้าที่เป็นตัวขยายสัญญาณ หรือพลังงานไฟฟ้าที่ส่งมาจากไมโครโฟนให้ดังเพิ่มขึ้น การขยายสัญญาณจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกำลังขยาย ( Gain ) และกำลังขยายสูงสุด ( Maximum power output) ของเครื่องช่วยฟังแต่ละชนิด Amplifiers นี้จะอยู่ภายในเครื่องช่วยฟัง โดยจะมีปุ่มปรับความดัง สามารถปรับให้ดังมากหรือน้อยได้
ในเครื่องช่วยฟังยุคใหม่เครื่องขยายแบบ integrated circuit สามารถรวมอยู่บน silicon chip เพื่อความสามารถที่ดีกว่าในการปรับเปลี่ยน electroacoustic characteristic วงจรบางอย่างจะมีการเขียนชุดคำสั่งของลักษณะพิเศษเพื่อทำให้เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ในการฟังหลายๆ สถานการณ์ ระบบอัตโนมัติจะประกอบไปด้วยการตอบสนองของเครื่องช่วยฟังที่หลากหลายขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมของเสียงที่ไม่มีการควบคุมเองด้วยมือ ตัวขยายที่ดีขึ้นจะรวมการประมวลสัญญาณระบบดิจิตอลเข้าไปด้วย ซึ่งจะปล่อยให้มีช่วงกว้างของการเปลี่ยนแปลงสัญญาณเพื่อให้เหมาะกับความต้องการของผู้ป่วย
Basic amplifier electroacoustic performance สามารถปรับการควบคุมการใช้เฉพาะอย่างได้ โดยทั่วไปจะมีระบบควบคุมระดับเสียงและอื่นๆ เพื่อใช้ในการเปลี่ยน frequency response และ maximum output ของเครื่อง วงจรภาคขยายระดับสูงที่ขึ้นจะมีระบบควบคุมเพิ่มเติมและบางเครื่องจะมีวงจรพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดเสียงก้องหรือเสียงหอน
ส่วนประกอบอย่างสุดท้าย คือ ลำโพง (Receiver) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับการขยายแล้วให้เป็นพลังงานกล และเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานเสียง เครื่องช่วยฟังที่ทันสมัยส่วนใหญ่จะมี Receivers ภายใน (Internal air conduction receiver) ที่เชื่อมต่อกับท่อพลาสติก ส่งต่อไปยังส่วนนอกเครื่องช่วยฟังหรือไปยังพิมพ์หู ส่วน Receivers ภายนอก ( External air conduction receiver ) จะพบได้ในเครื่องช่วยฟังแบบกล่องด้วย และส่งต่อไปยังพิมพ์หู สัญญาณเสียงไฟฟ้าจากภาคขยายจะทำให้ electromagnetic field รอบๆ ทเกราะหุ้มเพื่อเปลี่ยนความแรงและดึงดูดไปยัง permanent magnet ที่หุ้มจะถูกดึงดูดกับ diaphragm การเคลื่อนที่ของเกราะหุ้มจะทำให้ diaphragm สั่นสะเทือนและทำให้เกิดเสียงขึ้น Bone conduction receiver จะถูกใช้แทนเมื่อความสามารถของการใช้ air conduction receiver มีข้อกำจัด ซึ่งถูกออกแบบให้เป็นการสั่นของกะโหลก
No responses yet