หูเป็นหนึ่งในอวัยวะที่เรียกได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันในด้านของ การได้ยิน แต่ทราบไหมคะว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังดูแลสุขภาพของหูผิดวิธี หรือไม่ทราบวิธีในการดูแลหูของเรา และกลายเป็นว่าทำให้เกิดผลเสียในอนาคตได้
หูเป็นอวัยวะที่ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญอยู่หลายส่วนและมีความซับซ้อน เมื่อเกิดปัญหาอาจส่งผลต่อส่วนอื่นที่อยู่ใกล้ ๆ กันและอาจทำให้เกิดภาวะการสูญเสีย การได้ยินเกิดขึ้นได้ ซึ่งการสูญเสียการได้ยินนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย ซึ่งในวันนี้เราได้รวบรวมเรื่องราวของการสูญเสียการได้ยินมาแนะนำให้ทุกคนได้ทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับหูได้ค่ะ
การสูญเสียการได้ยิน หรือภาวะการสูญเสียการได้ยินคือการที่สมรรถภาพในการได้ยินมีความบกพร่องหรือการได้ยินมีระดับการได้ยินที่แตกต่างออกไปจากเดิม เช่น จะได้ยินเสียงเมื่อเพิ่มความดังของเสียงให้ดังยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยเมื่อเปรียบเทียบจากระดับเดซิเบลแล้ว จะสูงกว่า 25 เดซิเบลซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยในการได้ยินในเบื้องต้นของมนุษย์
การสูญเสียการได้ยินสามารถวัดได้จากเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีชื่อว่า audiometer จะสามารถวัดระดับการได้ยินและจำแนกการสูญเสียตามองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ดังนี้
- ระดับการได้ยินน้อยกว่า 25 เดซิเบล การได้ยินเป็นปกติ
- ระดับการได้ยิน 25-40 เดซิเบล เริ่มมีภาวะหูตึงเล็กน้อย
- ระดับการได้ยิน 41-60 เดซิเบล มีภาวะหูตึงปานกลาง
- ระดับการได้ยิน 61-80 เดซิเบล มีภาวะหูตึงอย่างรุนแรง
- ระดับการได้ยิน 81 เดซิเบลขึ้นไป มีภาวะหูหนวก
ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน
- ช่วงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ความเสื่อมของร่างกายรวมไปถึงอวัยวะต่าง ๆ ก็เสื่อมตามเช่นกัน
- เสียง การอยู่ในบริเวณที่ต้องพบกับเสียงดังเป็นระยะเวลานาน ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้หูถูกทำลายซ้ำ ๆ จนกระทั่งสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรได้
- อาการเจ็บป่วย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินเนื่องจากเซลล์ขนในหูถูกทำลาย
- ยา ยาบางชนิดก็สามารถส่งผลกับระบบของหูได้ เช่น การใช้ยาแอสไพรินในจำนวนมากเกินไป เป็นต้น
โดยปกติแล้วแพทย์มักจะพบสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินโดยจะถูกแบ่งออกมาเป็นถึง 2 แบบใหญ่ ๆ คือการสูญเสียการได้ยินตามระยะเวลา และการสูญเสียการได้ตามชนิดของการสูญเสียการได้ยิน
การสูญเสียการได้ยินตามระยะเวลาจะแบ่งได้ดังนี้
- การสูญเสียการได้ยินที่มีมาก่อนกำเนิด (Pre-lingual)
- การสูญเสียการได้ยินที่มีหลังการกำเนิด (Post-lingual)
การสูญเสียการได้ยินตามชนิดของการสูญเสียการได้ยิน
- Sensorineural Hearing Loss หรือประสาทหูเสื่อม
- Conductive Hearing Loss หรือการนำเสียงเสื่อม
- Mixed Hearing Loss หรือการสูญเสียการได้ยินแบบผสม
การสูญเสียการได้ยินที่แบ่งตามชนิดของการสูญเสียการได้ยินมีทั้งหมด 3 แบบ โดยมีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้
- Sensorineural Hearing Loss หรือประสาทหูเสื่อม เกิดจากเซลล์ประสาทหูภายในได้รับการกระทบกระเทือนหรือมีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ประสาทในการรับเสียงเสียหาย
- Conductive Hearing Loss หรือการนำเสียงเสื่อม คือการนำเสียงบกพร่องโดยมักเกิดบริเวณหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง โดยจะพบว่าสาเหตุมาจากการเดินทางนำเสียงถูกปิดกั้นไปยังหูชั้นใน
- Mixed Hearing Loss หรือการสูญเสียการได้ยินแบบผสม คือการเกิดภาวะการเกิดการสูญเสียการได้ยินที่เกิดขึ้นจากอาการระบบนำเสียงบกพร่องและประสาทหูเสื่อม ซึ่งมักจะเกิดขึ้นพร้อมกันนั้นเอง
นอกจากนี้สูญเสียการได้ยินยังมีสาเหตุอีก 1 สาเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้คือ การสูญเสียงการได้ยินจากมลภาวะทางเสียงที่มักจะพบได้ในชีวิตประจำวัน
การสูญเสียการได้ยินจากมลภาวะทางเสียง (Noise-Induced Hearing Loss)
สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยสาเหตุที่มักจะพบจะมาจากการต้องอยู่กับบริเวณที่มีเสียงดังที่มากกว่า 85 เดซิเบลติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งมีโอกาสจะทำให้เซลล์ขนที่อยู่ภายในหูชั้นในถูกทำลาย การสูญเสียการได้ยินประเภทนี้พบได้ทั้งการที่ค่อย ๆ สูญเสียการได้ยินไปทีล่ะนิด หรืออาจเกิดจากการเจอกับเสียงดังมาก ๆ ในครั้งเดียว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหูอื้อและเกิดอาการหูดับเป็นลำดับถัดไป หรือที่เรารู้จักกันในชื่อการสูญเสียการได้ยินแบบฉับพลัน
การสูญเสียการได้ยินแบบฉับพลัน (Sudden Hearing loss)
การสูญเสียการได้ยินแบบฉับพลันมักจะเกิดได้ในทันทีสาเหตุที่เกิดขึ้นมาอยู่หลากหลายแบบ ทั้งการพบเสียงดังมาก ๆ จนทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงอย่างฉับพลัน ในบางรายพบว่าเกิดจากการทานเนื้อหมูที่ไม่ได้ปรุงจนสุก หรือในบางรายพบว่าเกิดจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือการได้รับการกระทบกระเทือน เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยหลายคนมีโอกาสกลับมาได้ยินอีกครั้ง แต่ก็ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งที่สูญเสียการได้ยินอย่างถาวรได้เช่นกัน
สัญญาณที่สังเกตได้ว่าเรากำลังเจอปัญหาที่เกี่ยวกับการได้ยิน
- รู้สึกได้ยินไม่ชัด รู้สึกคล้ายว่าคู่สนทนาพูดคำอู้อี้
- ไม่สามารถจับใจความของคู่สนทนาในพื้นที่จอแจได้
- บางรายมีอาการไม่ได้ยินเสียง คล้ายอยู่ในห้องเงียบ
- บางรายมีอาการของการมีเสียงรบกวนในหูประกอบ
- ต้องใช้เสียงที่ดังมากกว่าเดิมในการฟัง
เรื่องของการสูญเสียการได้ยินไม่ได้พบแค่ในวัยสูงอายุเท่านั้น ในเด็กและเด็กทารกก็เรียกได้ว่าสามารถพบเจอได้เช่นกัน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงวัย คือ ทารกและวัยเด็ก
การสูญเสียการได้ยินในวัยทารก
- ไม่แสดงอาการตกใจกับเสียงดังรอบตัว
- ไม่มีปฏิกิริยากับเสียงเรียกแม้จะอยู่ใกล้ ๆ
- ไม่สามารถพูดเป็นคำ ๆ ได้
การสูญเสียการได้ยินในเด็ก
- พูดช้าและพูดไม่ชัด
- ไม่เข้าใจคำสั่งหรือคำบอก
- จำเป็นจะต้องใช้เสียงที่ดังกว่าปกติเพื่อให้เด็กสนใจ
อ่านถึงตรงนี้แล้วเรียกได้ว่าความอันตรายของการสูญเสียการได้ยินเรียกว่ามีหลายส่วนเลยค่ะ อย่างไรก็ตาม เราสามารถดูแลตัวเองเพื่อยืดอายุการใช้งานของหูของเรา รวมไปถึงการตรวจสุขภาพของหูเพื่อช่วยยืดระยะการใช้งานให้กับตนเองด้วย
หรือหากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อมาที่ hearLIFE เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เพราะ hearLIFE อยากให้คุณใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
No responses yet