จริงหรือ ? หากผ่าตัด ประสาทหูเทียมในเด็ก แล้วลูกสามารถพูดได้ทันที
“ทำไมลูกของฉันยังพูดไม่ได้” “ผ่าตัดใส่ ประสาทหูเทียมแล้วยังไม่ยอมพูด” “ทำไมลูกยังพูดไม่เป็นคำเลย ใส่ประสาทหูเทียมแล้วนะ” เป็นหนึ่งในคำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจไม่เข้าใจว่าทำไมลูกของตัวเองยังไม่สามารถพูดได้อีก วันนี้เรามาไขข้อข้องใจให้กับทุกคนแล้วค่ะ
โดยพัฒนาการปกติแล้ว เด็กจะเรียนรู้ภาษาและการพูดของเด็กหลังจากมีการได้ยินเสียงเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเมื่อลูกเข้ารับการรักษาด้วยการ ผ่าตัดประสาทหูเทียมแล้ว ทางนักแก้ไขการได้ยินจะวางแผนเบื้องต้นในเรื่องของการฟื้นฟูการได้ยิน
- 1 เดือนหลังผ่าตัดประสาทหูเทียมแล้ว หลังจากผ่าตัดประสาทหูเทียมแล้วทางแพทย์และนักแก้ไขการได้ยินจะทำการนัดเพื่อเปิดเครื่องประมวลเสียงที่อยู่ข้างนอก หลังจากนั้นจะมีการนัดเพื่อติดตามผลและปรับตั้งค่าเสียงเป็นระยะ ควบคู่ไปกับแผนการฝึกพูดและฝึกฟัง
ซึ่งหลาย ๆ คนก็จะเกิดการตั้งคำถามว่าแล้วจะต้องทำอย่างไรต่อถึงจะเห็นพัฒนาการของลูกว่ามีทักษะการฟังไปจนถึงขั้นพูดได้ขึ้นมา
สำหรับการผ่าตัด ประสาทหูเทียมในเด็ก มักจะมีระยะเวลาในการพัฒนาการได้ยินดังนี้
- ในช่วง 1-3 เดือนหลังจากเปิดเครื่องประมวลเสียง เด็กจะรับรู้ได้ถึงเสียงพูด สามารถบอกหรือแสดงออกได้ว่าตอนนี้มีหรือไม่มีเสียง รับรู้เสียงรอบข้างและบอกทิศทางของเสียงได้ มีการตอบสนองต่อเสียงเรียกตัวเอง เช่นหันตามเสียงเรียกชื่อ รับรู้ความแตกต่างของเสียงสองเสียงได้ รวมไปถึงสามารถระบุเสียง Six Ling Sound จากที่ได้ยินได้
- ในช่วง 2-5 เดือนหลังจากการเปิดเครื่องประมวลเสียง เด็กจะสามารถรับรู้ได้ถึงความแตกต่างของเสียงสั้น เสียงยาว เสียงสูง เสียงต่ำ รวมไปถึงการแยกเสียงของผู้ชายและผู้หญิงอีกด้วย
- ระยะ 6-9 เดือนหลังจากการเปิดเครื่องประมวลเสียง เด็กจะสามารถจำแนกคำที่มีพยางค์แตกต่างกันได้ สามารถจำแนกคำที่มีพยัญชนะเหมือนกัน แต่มีสระต่างกัน หรือคำที่มีสระต่างกัน แต่มีพยัญชนะต่างกัน โดยมีจำนวน 1 พยางค์ได้
- ระยะ 9-18 เดือนหลังจากเปิดเครื่องประมวลเสียง เด็กจะสามารถแยกคำหนึ่งคำที่ได้ยินจากประโยคหนึ่งประโยคได้ หลังจากนั้นจะค่อย ๆ เพิ่มเป็นสองคำ สามคำไปจนถึงสี่คำ
- ระยะเวลา 18 เดือนขึ้นไปหลังจากเปิดเครื่องประมวลเสียง เด็กจะฟังและสามารถทำตามคำสั่งที่มีหลายขั้นตอนได้ สามารถพูดขยายคำศัพท์ได้ พูดทวนประโยคที่ได้ยินและสามารถตอบคำถามง่าย ๆ ได้ หรือเมื่อฟังนิทานก็สามารถตอบคำถามจากการฟังนิทานได้
ทั้งนี้จากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาเป็นเพียงการประเมินของระยะเวลาหลังจากการเปิดเครื่องประมวลเสียงกับสิ่งที่เด็กควรจะทำได้อย่างคร่าว ๆ เท่านั้น ซึ่งระยะเวลาในการพัฒนาและฟื้นฟูทักษะทางด้านการได้ยินยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะต้องประเมินด้วย เช่นเด็กเกิดการสูญเสียการได้ยินในช่วงก่อนหรือหลังการมีภาษา เป็นโรคหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อการได้ยินหรือไม่
หากคุณพอคุณแม่ท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัด ประสาทหูเทียมในเด็ก หรือการฟื้นฟูการได้ยิน ต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามมาได้ตามช่องทางด้านล่างได้เลยนะคะ เพราะ hearLIFE เราอยากให้คุณมีสุขภาพหูที่ดีและมีความสุขค่ะ
ช่องทางการติดต่อ
Line Official : @hearlifeth
Facebook: https://www.m.me/hearlifethai
หรือโทร 02-693-9411
No responses yet