ปัจจุบันมีการใช้ยาในการบำบัดรักษาโรคจำนวนมาก ทั้งยาที่สั่งโดยแพทย์ในโรงพยาบาล และยาที่ผู้ป่วยซื้อใช้เองตามร้านขายยาทั่วไป ยาบางชนิดมีผลข้างเคียงที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เช่นยาบางชนิดมีพิษต่อหู ซึ่งส่งผลให้มีการได้ยินเปลี่ยนแปลงและมีปัญหาทางระบบการทรงตัวทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร ซึ่งอัตราการเกิดความเป็นพิษต่อหูขึ้นอยู่กับปริมาณยาที่ใช้ ,ปัจจัยจากตัวผู้ป่วย และการใช้ยาที่มีพิษต่อหูร่วมกันหลายชนิด ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Aminoglycoside และยาเคมีบำบัด เป็นกลุ่มยาที่ใช้อย่างแพร่หลายในการบำบัดรักษาโรค ซึ่งมีการศึกษาพบว่ายา 2 กลุ่มนี้มีผลข้างเคียงก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อหู ซึ่งในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้ป่วยปีละประมาณ4 ล้านคนมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินจากยาปฏิชีวนะกลุ่ม Aminoglycoside เช่น […]
ยาหยอดหูที่มีส่วนของยาที่มีพิษต่อหู เนื่องจากการใช้ยาหยอดหูฆ่าเชื้อหลายๆครั้งมีส่วนประกอบของยาที่มีพิษต่อระบบประสาทหู แต่อุบัติการณ์ของพิษต่อหูจากการให้ยาหยอดหูมีข้อมูลจำกัด จึงได้มีข้อแนะนำว่าหากเยื่อแก้วหูของผู้ป่วยไม่ฉีกขาด สามารถใช้ยาหยอดหูในกลุ่มนี้ได้ แต่ให้หยุดใช้ทันทีหากมีอาการเริ่มดีขึ้นไม่ให้ใช้ต่อเนื่องในระยะยาว ซึ่งมีการศึกษาการใช้ยากลุ่มนี้ระยะสั้นประมาณ 2 สัปดาห์ให้กลุ่มเด็กที่ได้รับการผ่านตัดเจาะเยื่อแก้วหูและใส่ท่อระบาย ไม่พบความผิดปกติของการได้ยินเสียงแต่อย่างใด แต่หากว่าเริ่มมีอาการเกี่ยวกับพิษต่อระบบประสาทหูเช่น หูอื้อ ได้ยินเสียงในหู หรือวิงเวียนขึ้น ให้กลับมาพบแพทย์ผู้ให้การรักษาเพื่อประเมินอาการที่เกิดขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนยาที่ไม่มีพิษต่อระบบประสาทหูให้แทน วิธีการป้องกันพิษจากยาหยอดหูที่มีพิษ ยาหลายชนิดในกลุ่มนี้หลายตัวมีความจำเป็นต้องใช้ ผู้ใช้ควรต้องตรวจระดับการได้ยินในคลื่นเสียงความถี่สูงก่อนเริ่มทำการรักษาและประเมินการได้ยินเป็นระยะ หากพบความผิดปกติเกิดขึ้นให้หยุดยา การปรับเปลี่ยนตัวยา […]