ในชีวิตประจำวัน ดนตรีถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนเราเสมอมา ไม่ว่าจะตอนอาบน้ำ กินข้าว หรือไปเดินห้างก็ยังมีเสียงเพลงที่เปิดเพื่อสร้างบรรยากาศ ความสุข ความสนุกแก่คนเรา แล้วสำหรับผู้ใช้งาน ประสาทหูเทียม จะสามารถฟังเพลง และสนุกไปกับเสียงดนตรีได้ไหม? คำตอบคือ “ได้”

 

จะเป็นอย่างไรหากโลกเราไม่มีเสียงเพลง ชีวิตที่ปราศจากดนตรีเป็นสิ่งที่มองภาพไม่ออกเลยว่าจะเป็นอย่างไร เพราะดนตรี คือ การมีส่วนร่วมกันของสิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ให้เชื่อมเข้ากันได้ผ่านเสียงเพลง/เสียงดนตรี ซึ่งมันสามารถกระตุ้นและปลอบโยนคนเราได้ในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงเชื่อมโยงเราระหว่างความแตกต่างทางอายุ วัฒนธรรม และเชื้อชาติ สร้างชุมชนแต่ละท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่

ดนตรีเป็นสิ่งที่วิเศษมากๆ ดังนั้นพวกเรา MED-EL จึงเชื่อว่าทุกๆ คนควรเข้าถึงดนตรีได้! เพื่อมอบประสบการณ์การได้ยินที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้จำนวนมากที่สุด ประสาทหูเทียม ของเรามีกลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กโทรดที่ยาว ยืดหยุ่น และยังมีเทคโนโลยี FineHearing จะทำให้คุณได้ยินเสียงต่างๆ บนโลกอย่างที่ควรจะเป็น ตั้งแต่ฟังเพลงโปรดไปจนถึงเสียงของคนที่คุณรัก อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีสามารถทำหน้าที่เป็นเพียงรากฐานในการพัฒนาต่อสู่ความสำเร็จ เหมือนกับการเข้าใจเสียงพูดที่ผู้ใช้ประสาทหูเทียมจำเป็นต้องฝึกในการเรียนรู้ ดังนั้นการฟังเพลงในครั้งแรกอาจจะดี หรืออาจจะยังฟังยากสำหรับบางท่าน อยากให้คุณลองฟังบ่อยๆ แล้วการฟังเพลงสำหรับเราจะดีขึ้นเรื่อย ๆ 

Malin Kumkar ครูสอนดนตรี จะมาพูดถึง วิธีเปลี่ยนจากอารมณ์เศร้า หงุดหงิด และอื่นๆ ให้เพลิดเพลินไปกับกับเสียงเพลง เคล็ดลับและกลเม็ดที่ช่วยในการฝึกฝน และเหตุใดการฟังเพลงจึงสามารถปรับปรุงความเข้าใจในการพูดของเราได้

 

ในฐานะครูสอนดนตรี ฉันมองว่าในบางองค์กรจะหาวิธีในการพัฒนา สอนให้คนที่มาเรียนเก่งในดนตรี แต่สำหรับฉันจะเน้นให้ความสำคัญกับการที่ผู้คนเข้าถึงเสียงเพลงได้ง่าย เข้าถึงและได้รับประสบการณ์ทางดนตรี ไม่ใช่การเรียนรู้ดนตรีเพียงอย่างเดียว เช่น การทำเวิร์คช็อป ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มักเข้าไม่ถึงดนตรี

 

ใช่ ฉันคิดว่าดนตรีควรเป็นจุดเชื่อมในการสร้างชุมชน กลุ่มคน หรือเป็นสิ่งที่ให้ผู้คนมีประสบการณ์ร่วมกันผ่านดนตรี ถึงอย่างนั้น ฉันก็รู้ว่าแนวเพลงบางประเภทอาจเข้าถึงได้เฉพาะบางกลุ่มคนในสังคมเท่านั้น นอกจากนี้ ฉันคิดว่าเราทุกคนควรได้สัมผัสกับความมหัศจรรย์ของดนตรี และการที่จะช่วยให้พวกเขาทำเช่นนั้นได้คือความตั้งใจที่ฉันอยากจะทำ 


เนื่องจากโครงสร้างของดนตรีมีความซับซ้อนเป็นพิเศษและมีปริมาณความถี่ และระดับเสียงที่กว้างไม่เท่ากัน ฉันอยากแนะนำให้คนที่ใช้งานประสาทหูเทียม เริ่มต้นฟังดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และป๊อปก่อน เพราะดนตรีจะไม่มีความซับซ้อนมากเท่าไหร่ เริ่มจากทำนองง่ายๆ และเพิ่มความซับซ้อนทีละนิด ค่อยเป็นค่อยไป

สังเกตเห็นว่าเสียงที่มีความถี่ต่ำ (เช่น เชลโลหรือเฟรนช์ฮอร์น) จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้ ประสาทหูเทียม เครื่องดนตรีเหล่านี้มักจะสะท้อนเสียงในห้องได้ดีกว่า นั่นจึงเป็นเหตุผลที่การแสดงสดนั้นมีความสำคัญมากๆ และยังสังเกตเห็นว่าความใกล้ชิดนั้นมีบทบาทสำคัญมาก เพราะยิ่งผู้ใช้ประสาทหูเทียมอยู่ใกล้อุปกรณ์มากเท่าไหร่ ฝึกซ้อม ฝึกเล่น ประสบการณ์การได้ยินก็จะยิ่งลึกซึ้งมากขึ้นเท่านั้น

คำตอบคือ ใช่ เสียงพูดและดนตรีมีพารามิเตอร์ หรือตัวแปลเสริมที่คล้ายคลึงกัน เช่น จังหวะ ระดับเสียง และโทนเสียง การฝึกดนตรีช่วยในการจดจำเสียงได้รวดเร็วขึ้นและสามารถโฟกัสไปที่ข้อมูลจากการได้ยิน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ผู้คนจำนวนมากพูดคุยกันหรือในที่ที่มีเสียงรบกวนรอบข้างมาก

การฝึกดนตรีช่วยให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินสามารถจดจำน้ำเสียงได้ดีขึ้น ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ต้องพึ่งพาการแสดงออกทางสีหน้าเพียงอย่างเดียว แต่สามารถรับรู้อารมณ์ของผู้พูดหรือว่า มีบางสิ่งที่สื่อความหมายในเชิงประชดประชันจากทำนองของเสียงร้องหรือไม่นั่นเอง

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการอดทนและไม่ยอมแพ้ ลองเลือกแนวเพลงประเภทใหม่ๆ ดูว่าเราชอบแบบไหน เพราะมันคือสิ่งสำคัญในการที่คุณจะได้สนุกไปกับเสียงเพลงอีกครั้ง 

การมีเทคนิคการฝึกดนตรีที่ดีก็ช่วยได้เช่นกัน อย่างหูฟังและลำโพง ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานประสาทหูเทียมในการใช้ฝึกฝน แอปสตรีมมิงหลายแอปยังมีฟังก์ชันอีควอไลเซอร์ (Equalizer) ที่สามารถใช้เพื่อปรับเพลงทีละเพลง และสอบถามผู้ใช้คนอื่นดูว่าใช้วิธีแบบไหนในการฝึกบ้าง เพื่อนำมาปรับใช้ในการฝึกของเราได้

 

แน่นอน คือคุณสามารถเล่นได้! แต่การเล่นจะต้องอาศัยความพยายาม การสนับสนุนจากคนรอบข้าง เพราะว่าไม่ว่าเราจะมีการได้ยินปกติ หรือใช้งานประสาทหูเทียม ทุกคนจะต้องไม่กดดัน ปล่อยตัวเองจากความคิดที่ว่าเมื่อเรียนเครื่องดนตรีแล้ว เราจะต้องเล่นมันได้เลย ณ ตอนนั้น แต่เราควรให้เวลามันก่อน ฝึกฝนและใช้เวลากับเครื่องดนตรีสักพัก เล่นด้วยความรู้สึก ด้วยความชอบ แล้วผลจะออกมาได้ดี

 

เครื่องดนตรีที่มีโทนเสียงที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น คีย์หรือเฟรต จะมีความเหมาะมาก เช่น เปียโน (Piano), ฮาร์ปซิคอร์ด (Harpsichord), เครื่องเพอร์คัชชัน (Percussion) และกีตาร์ (Guitar) 

โดยทั่วไปจึงเรียนรู้ได้ง่ายกว่าแซกโซโฟน ฟลุต หรือโอโบ เครื่องมือมี่ใช้ลมมักจะมีเสียงที่ดังและแรง ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ใช้งานประสาทหูเทียม แต่มีผู้ใช้ประสาทหูเทียมบางท่านที่สามารถเล่นเครื่องดนตรีเหล่านี้ได้เช่นกัน 

นอกจากนี้เครื่องดนตรีแบบสายก็สามารถเล่นได้ แม้ว่าในตอนแรกอาจเรียนรู้ได้ยากกว่า แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถ หากคุณมีความชอบในเครื่องดนตรีชนิดนั้น ๆ เราจึงอยากให้กำลังใจทุกๆ ท่านที่มีความชอบ และความตั้งใจในการที่จะเล่นดนตรีแต่ละประเภท

 

ดนตรีเป็นมากกว่าที่เราทุกคนจะเข้าใจทั้งหมด ดังนั้นสิ่งสำคัญคือผู้ปกครองจะต้องใช้เวลาในการมีส่วนร่วมอย่างการเล่นดนตรีด้วย (หากเล่นได้) หรือร้องเพลงกับลูก ไม่เกี่ยวว่าจะต้องเล่นเก่ง หรือทำออกมาดีแค่ไหน แต่เป็นการแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน ให้เขาได้รู้สึกสนุก และสนับสนุนเขาให้มีความกล้าที่จะลองสิ่งใหม่ๆ เพราะดนตรีมีไว้สำหรับทุกคน และทุกคนควรได้รับประสบการณ์จากเสียงดนตรี

 

อ้างอิงจาก MED-EL

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *