ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักมีปัญหากังวลใจกับการฝึกพูดและฝึกฟัง หลังจากที่ลูกน้อยเข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียมแล้วนั้นสิ่งต่อไปที่จำเป็นไม่แพ้กันคือ “การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน” ซึ่งจริง ๆแล้วการผ่าตัดก็ถือเป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินอย่างหนึ่ง โดยการผ่าตัดนั้นถือเป็นขั้นตอนแรกในการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน แต่การผ่าตัดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้มีสมรรถภาพการได้ยินดีขึ้นได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นหลังจากการผ่าตัดประสาทหูเทียม โดยเฉพาะในกรณีเด็กที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิด จึงต้องพัฒนาทักษะการฟังด้วยประสาทหูเทียมอยู่เสมอ ๆ  เริ่มจากการฝึกฟัง เมื่อสมองสามารถจดจำเสียงต่างๆได้แล้วนั้นจะพัฒนาไปยังขั้นตอนการฝึกพูด โดยเป้าหมายในการฝึกทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกัน จะมีความแตกต่างมากน้อยเพียงใดนั้นติดตามได้จากบทความนี้เลย

  • การแก้ไขการพูดไม่ชัด : เป็นการแก้ไขเสียงที่เด็กพูดไม่ชัดเจนโดยต้องได้รับการประเมินเสียงที่พูดไม่ชัดโดยการใช้แบบทดสอบการออกเสียงแต่ละเสียงในภาษาไทย รวมถึงประเมินโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะที่ใช้ในการพูด เช่น ริมฝีปาก ลิ้น ขากรรไกร เป็นต้น ซึ่งถ้าโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะที่ใช้ในการพูดของเด็กบกพร่องก็จะส่งผลต่อการพูดไม่ชัด เช่น พูดเร็วฟังไม่รู้เรื่อง พูดเสียงขึ้นจมูก เป็นต้น ถ้าเด็กได้รับการประเมินและแก้ไขเร็วก็จะช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะด้านการพูด ให้ชัดมากขึ้นได้

สำหรับเด็กที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้วนั้น ควรได้รับการฝึกฟังควบคู่ไปกับการฝึกพูด  โดยในระยะแรกจะเน้นเรื่องการฝึกฟังก่อนเป็นลำดับแรกเพื่อให้เด็กเรียนรู้เสียง ทำความรู้จักและจดจำเสียงให้ได้ก่อน เพื่อให้เด็กตอบสนองกับเสียงได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการฝึกฟังในขั้นแรกนี้มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องใช้ทักษะการฟังนี้ในการปรับตั้งค่าเครื่องประสาทหูเทียมเพื่อให้เด็กได้รับเสียงที่ดังพอดีสำหรับการเรียนรู้เสียงในชีวิตประจำวัน ซึ่งหลังจากที่เด็กสามารถฟังได้ในระดับนึงแล้วจึงเริ่มเพิ่มการสอนภาษาและการพูดเป็นลำดับต่อไป 

เป้าหมายของการฝึก 

  • สำหรับเด็กวัยทารกและก่อนวัยเรียน

– เพื่อให้เด็กตอบสนองต่อเสียงสิ่งแวดล้อมได้

– เพื่อกระตุ้นให้เด็กออกเสียง

– เพื่อสอนคำศัพท์และเพิ่มพูนคำศัพท์ให้กับเด็ก

– เพื่อกระตุ้นให้เด็กพูดสื่อสารเป็นวลีง่ายๆ

– เพื่อให้เด็กสามารถโต้ตอบและสื่อความหมายได้

  • สำหรับเด็กวัยเรียน 

– เพื่อพัฒนาทักษะทางการฟังและการพูด

– เพื่อให้เด็กสามารถฟังจับใจความได้

– เพื่อให้เด็กสามารถพูดสื่อสารได้เป็นประโยคที่ซับซ้อนขึ้น

-เพื่อให้เด็กพัฒนาทักษะด้านการพูดให้ชัดเจนมากขึ้น

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *