ขี้หูที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสารหล่อลื่นเคลือบป้องกันผิวหนังบริเวณช่องหู ปกติขี้หูจะถูกดันตัวออกมาจากช่องหู แต่ถ้าเกาะตัวกับขี้ฝุ่นหรือสิ่งผิดปกติต่างๆอาจทำให้เกิดการอุดตันจนต้องกำจัดออก โดยปัญหาที่พบเช่น การเกาะเป็นก้อนแข็ง รู้สึกเจ็บ หรือการนำออกมาเพื่อให้สังเกตเห็นสภาพเยื่อแก้วหูได้ดีขึ้น และในผู้ที่ใช้เครื่องช่วยฟัง ขี้หูมักจะอุดตันอยู่บริเวณพิมพ์หูที่ต่อกับเครื่องช่วยฟังซึ่งจะทำให้การฟังเสียงจากเครื่องช่วยฟังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
การกำจัดขี้หู
- การใช้น้ำมันมะกอกหรือสารละลายอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดการแพ้หยอดลงไปในหู
ควรนอนตะแคงให้หูข้างที่หยอดอยู่ด้านบน โดยหยด 4-5 หยดลงในช่องหู โดยจะต้องนอนตะแคงท่าเดิมเป็นเวลาประมาณ 10 นาที แล้วจึงตะแคงศรีษะไปอีกข้างเพื่อให้ขี้หูและน้ำมันไหลออกมา ทำการหยอดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน ซึ่งควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาหยอดหูทุกครั้ง
- การดูดขี้หู
การดูดขี้หูนี้จะทำโดยแพทย์เท่านั้น สามารถทำได้ในลักษณะขี้หูที่มีความอ่อนตัวดังนั้นบางรายอาจต้องใช้ยาหยอดหูเพื่อทำให้ขี้หูนิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะต้องใช้วันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 10 วันก่อนทำการดูดขี้หู และควรหลีกเลี่ยงหากตรวจพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้
- หลังจากการผ่าตัดเกี่ยวกับหู
- ยังพบการอักเสบของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง
- มีเยื่อแก้วหูทะลุ
การป้องกันการสะสมของขี้หู
ไม่แคะหูบ่อยหรือรุนแรงเกินไป เนื่องจากจะทำให้เกิดระคายเคืองและช่องหูอักเสบได้ ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณช่องหูรอบนอกเป็นประจำ บางคนมีขี้หูอุดตันอยู่บ่อยครั้งสามารถป้องกันการสะสมของขี้หูโดยการหยดน้ำมันมะกอกสัปดาห์และ 1-2 ครั้ง เพื่อละลายให้ขี้หูอ่อนตัวลง
คำเตือน! อย่าทำความสะอาดช่องหูด้วยไม้พันสำลีโดยการดันเข้าไปปั่นในช่องหู การทำเช่นนี้ไม่ทำให้ช่องหูสะอาดแต่อาจทำให้เกิดผลตรงกันข้าม คือ ขี้หูถูกผลักดันลึกลงไปเข้าไปในช่องหูและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่หูได้ ซึ่งปกติช่องหูจะมีกระบวนการทำความสะอาดโดยการดันขี้หูออกมาเองอยู่แล้ว
ที่มา: https://services.nhslothian.scot/paediatricaudiology/PatientInformation/Ear%20Wax.pdf
No responses yet