เครื่องช่วยฟังสามารถช่วยป้องกันภาวะ สมองเสื่อม ได้ ? ระดับการได้ยินที่ลดลงเรื่อยๆตามอายุถือเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ มีการประมาณได้ว่าวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไปมักจะมีการสูญเสียการได้ยิน
แต่ในสหรัฐอเมริกามีกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินเพียงแค่ 14% ที่จะใช้เครื่องช่วยฟังอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามจากการวิจัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าการได้ยินที่ลดลงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม
สามารถอธิบายโดยใช้หลักการที่ว่า ระบบการได้ยินมีความสำคัญต่อระบบความรู้ความเข้าใจอย่างมาก ซึ่งเมื่อมีการสูญเสียการได้ยินเพิ่มมากขึ้นจะนำไปสู่การลดถอยลงของสภาพการรับรู้ด้านการสื่อสารอีกด้วย
ในเดือนพฤศจิกายนของปีที่แล้ว มีการตีพิมพ์วารสาร JAMA โดย Justin Golub กลุ่มแพทย์โสต ศอ นาสิก ได้ให้ข้อมูลว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับการได้ยินถึงประสิทธิภาพในการรับรู้จากผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 6,400 คน โดยใช้ระดับการได้ยินที่ 25 เดซิเบลเป็นเกณฑ์การได้ยินปกติ และพบว่าความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพในการรับรู้และทำความเข้าใจในคำพูดที่ได้ยินลดลงทันทีเมื่อมีระดับการสูญเสียการได้ยินที่ไม่สมบูรณ์
หลักฐานเกี่ยวกับการเสื่อมลงของการรับรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียการได้ยินที่เกิดขึ้นนั้น ถูกค้นพบเมื่อปี 1989 โดยแพทย์ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน
ซึ่งได้ทำการเปรียบเทียบผู้ป่วยที่มีสภาวะสมองเสื่อมคล้ายอัลไซเมอร์ จำนวน 100 คน มาตรวจวัดระดับการได้ยินพบว่า การสูญเสียการได้ยินนั้นจะสอดคล้องกับระดับความบกพร่องทางสติปัญญา
แต่การเชื่อมโยงที่แน่ชัดนั้นยังไม่ได้ถูกวิเคราะห์อย่างจริงจัง จนกระทั่งปี 2011 Frank Lin แพทย์ หู คอ จมูก ของสถาบัน Johns Hopkins และเพื่อนร่วมงานของเขาได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาระยะยาวที่ทดสอบการได้ยินของผู้สูงอายุ จำนวน 639 คน ที่เป็นโรคสมองเสื่อม และติดตามพวกเขาเป็นเวลา 12 ปี
โดยพบว่า 58% มีการพัฒนาของโรคสมองเสื่อมหรือความบกพร่องทางสติปัญหาอื่นๆเพิ่มขึ้น และยังค้นพบว่า โอกาสในการพัฒนาโรคสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน
และในปี 2017 วารสารการแพทย์ The Lancet ได้มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อทบทวนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ทั้งหมดเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมที่อาจได้รับการแก้ไขหรือป้องกันได้ ข้อสรุปที่ได้เป็นที่น่าแปลกใจก็คือ การสูญเสียการได้ยินเป็นปัจจัยที่มากที่สุด
เห็นได้ชัดว่า ในอดีตการสูญเสียการได้ยินได้รับความสนใจค่อนข้างน้อยจากแพทย์ นักวิทยาศาสตร์หรือสาธารณชนทั่วไป แต่ปัจจุบันการสูญเสียการได้ยินเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามอีกต่อไป
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ
Line Official : @hearlifeth
Facebook: https://www.m.me/hearlifethai
No responses yet