คุณพอลล่าเกิดมาพร้อมกับภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรง พ่อแม่ของเธอจึงตัดสินใจให้เธอเข้ารับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมทั้งสองข้างตั้งแต่ยังเด็ก ปัจจุบัน เธอใช้งานเครื่องประมวลเสียง SONNET 2 ในการเล่นเทนนิสระดับมืออาชีพ และวันนี้เธอจะมาเล่าให้ฟังว่าการได้ยินของเธอเป็นอย่างไร และประสาทหูเทียมช่วยเปลี่ยนชีวิตของเธอไปในทางไหนบ้าง
การได้ยินของฉันดีขึ้นมาก ด้วย SONNET 2
“สวัสดีค่ะ พอลล่านะคะ ตอนนี้อายุ 15 ปี มาจากประเทศออสเตรีย เวลาว่างฉันชอบเล่นกีฬาหลายอย่างเลย ทั้งเทนนิส สกี แล้วก็ปีนเขา นอกจากนี้ยังชอบอ่านหนังสืออีกด้วยเครื่องประมวลเสียง SONNET 2 ช่วยให้ฉันได้ยินเสียงรอบตัวชัดขึ้นมาก จนรู้สึกว่าการใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้นเยอะเลย” — คุณพอลล่า
ได้รับการสนับสนุนที่ดีตั้งแต่แรก
ตอนที่เกิด ฉันถูกตรวจพบว่ามีภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรง แต่เราไม่รู้แน่ชัดว่าสาเหตุมาจากอะไร โชคดีที่ได้รับการดูแลจากแพทย์ นักบำบัด และพ่อแม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้ฉันได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ข้างขวา ตอนอายุ 2 ขวบครึ่ง และข้างซ้าย ตอนอายุ 3 ขวบ
แม้ว่าฉันจะมีปัญหาการได้ยิน แต่ฉันก็เรียนรู้ที่จะฟังและพูดได้เร็วมาก ๆ สามารถปรับตัวเข้ากับการใช้ประสาทหูเทียมได้ดีโดยไม่ต้องฝึกเป็นพิเศษ เพราะฉันไม่เคยได้ยินเสียงแบบอื่นมาก่อนอยู่แล้ว
ข้อดีของเครื่องประมวลเสียง SONNET 2
ฉันใช้ประสาทหูเทียมทั้งสองข้าง และตอนนี้ใช้เครื่องประมวลเสียง SONNET 2 ซึ่งฉันชอบมาก เพราะ
✅ ดีไซน์สวย และดูทันสมัย
✅ คุณภาพเสียงดีมาก จนบางครั้งฉันลืมไปเลยว่าตัวเองใส่ประสาทหูเทียมอยู่ด้วย
✅ สามารถใช้อุปกรณ์เสริมได้ โดยเฉพาะ AudioLink ที่ช่วยให้ฉันคุยโทรศัพท์ได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น
การเล่นเทนนิสกับประสาทหูเทียม
ครอบครัวของฉันชอบเล่นเทนนิสมาก พ่อแม่จึงพาฉันไปสนามเทนนิสตั้งแต่เด็ก ๆ จนฉันตกหลุมรักกีฬานี้เข้าเต็ม ๆ ทุกครั้งที่เล่นกีฬา ฉันจะใส่หมวกสีแดงอยู่ตลอด เพื่อปกป้อง SONNET 2 จนตอนนี้มันกลายเป็นเอกลักษณ์ของฉันไปแล้ว
หากถามว่า: ขณะเล่นเทนนิสการได้ยินเป็นยังไงบ้าง?
✔️ ได้ยินเสียงลูกเทนนิสกระทบพื้น – ช่วยให้จับจังหวะลูกได้ดีขึ้น และรู้ว่าลูกจะมาถึงเมื่อไหร่
✔️ เสียงเชียร์จากผู้ชม – ทำให้ฉันมีกำลังใจและเล่นได้อย่างมั่นใจ
คุณพอลล่า นักเทนนิสมืออาชีพ และผู้ใช้งานประสาทหูเทียมเมดเอล จากประเทศออสเตรีย กล่าว
อุปกรณ์ช่วยยึดเครื่องประมวลเสียงสำหรับการเล่นกีฬา
สำหรับนักกีฬาที่ใช้งานประสาทหูเทียม การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เครื่องประมวลเสียงขยับหรือหลุดได้ แต่ไม่ต้องกังวล! อุปกรณ์ช่วยยึดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษจะช่วยให้เครื่องประมวลเสียงอยู่กับที่ เล่นกีฬาได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องคอยปรับ หรือกังวลอีกต่อไป
อุปกรณ์เหล่านี้เหมาะสำหรับกีฬาหลายประเภท เช่น เทนนิส วิ่ง หรือกิจกรรมกลางแจ้งอื่น ๆ
🎾 สายคาดศีรษะ (Sports Headband) – ออกแบบให้มีช่องสำหรับใส่เครื่องประมวลเสียงโดยเฉพาะ ช่วยให้แนบกระชับกับศีรษะและป้องกันความชื้นจากเหงื่อ
🎾 คลิปยึดติด (Attachment & Activity Clips) – ใช้หนีบเครื่องประมวลเสียงติดกับเสื้อผ้าหรือผม ป้องกันการหลุดระหว่างเคลื่อนไหว
🎾 Fixation Loop for Glasses – สำหรับผู้ที่ใส่แว่น ช่วยให้เครื่องประมวลเสียง กระชับเข้ากับแว่นตาได้ดีขึ้น ไม่เลื่อนหลุดง่าย
🎾 GripWear – แถบซิลิโคนที่ช่วยให้เครื่องประมวลเสียงกระชับขึ้น ไม่ลื่นหลุดง่าย
ด้วยอุปกรณ์เสริมเหล่านี้ คุณพอลล่าสามารถโฟกัสกับการเล่นเทนนิสได้อย่างเต็มที่ ได้ยินเสียงรอบข้างชัดเจน และตอบสนองต่อเกมได้อย่างมั่นใจ
คำแนะนำจากคุณพอลล่า
เพราะมีประสาทหูเทียม ฉันจึงใช้ชีวิตได้ปกติ ไปโรงเรียน พบปะเพื่อน ๆ และเล่นกีฬาที่ฉันรักได้อย่างเต็มที่ ถ้าใครกำลังคิดจะใส่ประสาทหูเทียม อยากบอกว่า ไม่ต้องกลัวเลย! หลังการผ่าตัดฟื้นตัวเร็วมาก แล้วหลังจากนั้น คุณจะได้เปิดโลกของเสียงแบบใหม่ที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน
ขอบคุณ คุณพอลล่า!
อ้างอิงจาก MED-EL blog
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ
📌 Line Official : @hearlifeth
📌 Facebook : hearLIFE Thailand
📞 โทร : 02-693-9411
No responses yet