ขึ้นชื่อว่า การผ่าตัด หลายคนคงมีความกังวลมิใช่น้อยกับการรักษาด้วยวิธีการนี้ แต่การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมนั้นอัตราความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการผ่าตัดจัดอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และมีความปลอดภัยกว่าการผ่าตัดหูประเภทอื่น ๆ 

โดยปกติการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง เท่านั้น และนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 2-3 วันขึ้นกับความเห็นของแพทย์

 

 

ประสาทหูเทียมคืออะไร?

ประสาทหูเทียม คืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีประสาทหูเสื่อมอย่างถาวร หรือ หูหนวกที่ใช้เครื่องช่วยฟังแล้วไม่ได้ประโยชน์  โดยตัวอุปกรณ์มี 2 ส่วนคือ 

  1. แพทย์จะผ่าตัดฝังไว้ภายใต้กะโหลกศีรษะส่วนหลังใบหูของผู้ป่วย 
  2. อีกส่วนจะถูกติดตั้งอยู่ภายนอกเพื่อรับสัญญาณเสียง 

ซึ่งทั้งสองส่วนทำงานร่วมกันโดยการส่งกระแสสัญญาณไฟฟ้าตรงเข้าสู่เส้นประสาทรับรู้การได้ยินของผู้ป่วย สามารถใช้ได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ รวมถึงผู้ที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิด และ ผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินภายหลังได้เช่นกัน

 

ดูการทำงานของเครื่องเพิ่มเติมได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=oMWtDtbo58M&feature=emb_logo

 

ขั้นตอนการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ขั้นตอนแรก วิสัญญีแพทย์จะให้ดมยาสลบ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติโดยทั่วไปที่จำเป็นต้องใช้ในผู้ป่วยทุกราย
  • หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการโกนผมในบริเวณที่จะทำการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
  • ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มทำการผ่าตัดจากการเตรียมพื้นที่บริเวณกะโหลกศีรษะด้านหลังใบหูสำหรับวางตัวเครื่อง
  • จากนั้นจะทำการเปิดเส้นทางสู่ก้นหอยภายในหูชั้นใน
  • เมื่อเตรียมเส้นทางสู่ก้นหอยเรียบร้อยแล้ว จึงจะดำเนินการใส่สายอิเล็คโทรดเข้าสู่ก้นหอย
  • หลังจากที่สายอิเล็คโทรดและเครื่องประสาทหูเทียมได้รับการวางลงในตำแหน่งที่ถูกต้องและปลอดภัยแล้วผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทจะทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ก่อนที่ศัลยแพทย์จะเย็บปิดแผล

โดยปกติแล้วผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณแผลภายหลังการผ่าตัดได้ ซึ่งสามารถรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด และโดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะมีอาการดีขึ้นในวันถัดไป บางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะเกิดขึ้นได้ภายหลังการผ่าตัดเนื่องจากสมดุลของน้ำในหูชั้นในถูกรบกวนขณะผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะให้ยารักษาตามอาการที่เกิดขึ้น ส่วนมากผู้ป่วยจะนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 2-3 วันเพื่อสังเกตอาการหลังผ่าตัด หรืออาจนานกว่านี้ขึ้นอยู่กับข้อปฏิบัติของแต่ละสถานพยาบาลและความเห็นของแพทย์

 

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *