8 วิธีป้องกันการ สูญเสียการได้ยิน

8 วิธีป้องกัน การสูญเสียการได้ยิน

วิธีป้องกัน การสูญเสียการได้ยิน : บุคคลบางกลุ่มจำเป็นต้องกดปุ่มเพิ่มระดับเสียงให้ดังขึ้นไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์โทรทัศน์โทรศัพท์หรือวิทยุไปจนถึงการบอกให้ผู้ร่วมสนทนาพูดให้ดังมากขึ้นสิ่งเหล่านี้เป็นการแจ้งเตือนว่าคุณเป็นบุคคลที่อาจมีการสูญเสียการได้ยินปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินมาจาก 2 สาเหตุหลักนั่นคืออายุและการสัมผัสเสียง

อายุที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อเซลล์ขนในหูชั้นในทำให้มันพังทลายลงอย่างช้าๆจนไม่สามารถรับการสั่นสะเทือนของเสียงได้เช่นเดียวกับที่เคยทำมาในอดีตทำให้การรับรู้เสียงน้อยลงนั่นคือมีหูตึงมากขึ้น

การสัมผัสเสียงเป็นสิ่งที่จะกระทบต่อการได้ยินโดยตรงเมื่อเราได้รับเสียงดังมากๆเป็นเวลานานๆจะสามารถทำลายเซลล์ขนในหูลงไปซึ่งตัวคุณเองสามารถป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่จะเกิดขึ้นจากสาเหตุเหล่านี้ได้เช่นกัน

รวม 8 วิธีป้องกัน การสูญเสียการได้ยิน 

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังเกินไป

คุณสามารถสังเกตว่าเสียงที่สัมผัสอยู่ดังเกินไปหรือไม่โดยการตะโกนแล้วฟังเสียงของตัวเอง หากเสียงรบกวนกลบเสียงที่คุณตะโกนอยู่ เช่น เสียงจากลำโพงในคอนเสิร์ต เสียงจากท่อมอเตอร์ไซด์ เสียงจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เลื่อย สว่าน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่สร้างความเสียหายให้กับเซลล์ขนในหูชั้นใน

2. เมื่อต้องอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง

เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟังที่มีการปรับแต่งเสียงรบกวนในระดับต่ำ แต่เมื่อจำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่ที่มีการใช้เสียงดังมาก เช่น โรงภาพยนต์ ร้านอาหาร คุณควรจะปรับความดังของเครื่องช่วยฟังให้ลดลง

3. กำหนดเสียงดังในชีวิตประจำวัน

เสียงรบกวนบางประเภทก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น เสียงไซเรนของรถพยาบาล เสียงเครื่องขุดเจาะถนน แต่เราสามารถกำหนดระยะเวลาในการสัมผัสเสียงเหล่านั้นได้ โดยเมื่อมีเสียงรบกวนประเภทดังกล่าวขึ้น เราควรเดินหนีออกห่างหรือหลบเข้าในบริเวณที่ได้รับเสียงรบกวนเหล่านี้ลดลง เนื่องจากระยะเวลาในการสัมผัสเสียงมีผลกระทบโดยตรงกับการเสื่อมของการได้ยิน

4. ใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง

ถ้าคุณจำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่มีเสียงรบกวนเป็นระยะเวลาหนึ่ง คุณควรจะนึกถึงอุปกรณ์ป้องกันเสียงเหล่านี้ 

  • Earplug เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากโฟมหรือยาง มีลักษณะอ่อนนุ่ม จึงสามารถใส่เข้าไปในช่องหูได้ สามารถป้องกันเสียงให้ลดลงได้ 15-30 เดซิเบล ซึ่งอุปกรณ์นี้จะสามารถลดระดับเสียงลงในทุกช่วงความถี่ ดังนั้นจึงเหมาะสมกับบุคคลที่ต้องการให้สภาพแวดล้อมเงียบมากขึ้น แต่ไม่เหมาะสมกับนักดนตรีที่ต้องการลดระดับเสียงรบกวนในบางความถี่เท่านั้น
  • Earmuffs เป็นที่ครอบหู ซึ่งจะสามารถครอบปิดบริเวณใบหูได้อย่างแนบสนิท สามารถป้องกันเสียงให้ลดลงได้ 15-30 เดซิเบล และใส่เพื่อป้องกันเสียงได้โดยการครอบหูทั้ง 2 ข้าง 

5. ไม่สูบบุหรี่

สารเคมีบางชนิดในบุหรี่อาจส่งผลต่อระบบการได้ยินได้เช่นกัน ผลงานวิจัยจากหลายๆสถาบันระบุว่าเมื่อคุณเลิกสูบบุหรี่นอกจากจะเป็นการดีต่อสุขภาพของตัวคุณเองยังเป็นการลดผลกระทบจากควันบุหรี่ต่อบุคคลรอบตัวได้เช่นกัน

6. ทำความสะอาดช่องหู

ควรทำความสะอาดช่องหูเพื่อลดการสะสมของขี้หูที่จะถูกอุดตันอยู่ภายใน ซึ่งลักษณะการทำความสะอาดควรทำในบริเวณที่นิ้วมือสามารถเข้าถึง แต่หากพบว่ามีขี้หูเยอะและเริ่มเกิดการอุดตันมากควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์

7. ตรวจสอบยาสำหรับโรคประจำตัวว่ามีความเสี่ยงต่อระบบการได้ยินหรือไม่

ยาประมาณ 200 ชนิดสามารถสร้างความเสียหายต่อระบบการได้ยิน ซึ่งรวมถึงยาปฏิชีวนะบางตัวและกลุ่มของยาต้านมะเร็ง ปริมาณแอสไพรินสูงอาจเป็นอันตรายต่อการได้ยิน หากคุณใช้ยาตามใบสั่งแพทย์อาจไม่มีผลกระทบมากนัก เพราะแพทย์จะช่วยดูแลความเสี่ยงที่เกิดขึ้น แต่หากคุณซื้อยามารับประทานเองนั้นอาจทำให้ไม่ทราบถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการได้ยิน จึงควรปรึกษาเภสัชกรในการซื้อยาทุกครั้ง

8. ประเมินการได้ยิน

คุณควรทำการนัดหมายเพื่อตรวจการได้ยิน หากคุณมีประวัติดังต่อไปนี้

  • มีญาติสนิทที่มีการสูญเสียการได้ยิน
  • มีปัญหาในการฟังเสียงสนทนา
  • รู้สึกว่ามีเสียงรบกวนรอบๆตัวดังเกินไป
  • มักจะได้ยินเสียงก้องอยู่ในหู

หากคุณมีการสูญเสียการได้ยินสามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดมากขึ้น เมื่อพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินรุนแรงอาจต้องทำการรักษาหรือใส่เครื่องช่วยฟังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้การได้ยินดีขึ้น

 

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ

Line Official : @hearlifeth

Facebook: https://www.m.me/hearlifethai

หรือโทร 02-693-9411

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *