หากลูกของคุณเกิด สูญเสียการได้ยิน ความมั่นใจ ความยืดหยุ่น และการสนับสนุนตนเองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของพวกเขา ซึ่งในบทความนี้ เราจะมากล่าวถึงคุณลักษณะเหล่านี้ให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น และวิธีการสร้างคุณลักษณะเหล่านี้แก่บุตรหลานของคุณ

ความมั่นใจ ไม่ได้เกี่ยวกับความแข็งแกร่งทางร่างกายใดๆ แต่เป็นความสามารถในการ:

  • แบ่งปันความคิด ไอเดีย และความคิดเห็นของคุณกับผู้อื่นอย่างมั่นใจ
  • กล้าที่จะขอความช่วยเหลือเมื่อคุณต้องการ
  • ขอโทษ และยอมรับกับความผิดหวัง (พ่ายแพ้)

ความยืดหยุ่น (ความสามารถในการปรับตัว) คือความสามารถในการฟื้นตัวหลังจากเกิดข้อผิดพลาด ให้ลองพยายามใหม่อีกครั้ง ทำให้ดีที่สุด แม้ว่าสิ่งต่างๆ จะมีความยากก็ตาม นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับการยอมรับในการเปลี่ยนแปลงและมีความยืดหยุ่นกับสถานการณ์ใหม่ที่จะได้เจอ

การสนับสนุนตนเอง ครอบคลุมถึงความสามารถในการ:

  • ร้องขอการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสภาพแวดล้อมและแสดงเหตุผลสำหรับคำขอของคุณอย่างมั่นใจ
  • ยืนหยัดด้วยตนเอง อย่างการรู้ว่าตัวเองต้องหรือไม่ต้องการอะไร รู้สึกยังไง และรู้ขอบเขตพื้นที่สิทธิของตนเองในแต่ละสถานการณ์ว่าอยู่ตรงไหน (Empathysauce กล่าว)

จากข้างบนที่กล่าวทุกอย่างมีความแตกต่างกันในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน คน วัฒนธรรม ช่วงอายุก็แตกกันไป ทำให้ต้องนำไปปรับใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับตัวเอง

เด็กที่สูญเสียการได้ยินจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ เกือบในทุกช่วงอายุ ซึ่งในช่วงปีแรก ๆ ผู้ปกครองจะคอยสนับสนุนเขา เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุนและการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาต้องการ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาและสังคม

อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กๆ เติบโตและเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาจะต้องสามารถขอความช่วยเหลือและปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมได้ ให้เขามีความมั่นใจและสามารถใช้ชีวิตกับโลกใบนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้  การส่งเสริมความมั่นใจในตนเอง ความยืดหยุ่น และทักษะการช่วยเหลือตนเองในเด็กที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้

แล้วเราจะสร้างความมั่นใจ ความสามารถในการปรับตัว และการสนับสนุนตนเองในเด็กๆ ได้อย่างไร?

ในบทความนี้เราได้รวบรวมวิธีง่ายๆ ที่คุณจะสามารถช่วยบุตรหลานของคุณให้เก่งขึ้นได้ ดังต่อไปนี้:

ทัศนคติ

1. แสดงทัศนคติที่มั่นใจต่อการสูญเสียการได้ยินของบุตรหลานและการใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง
2. ใช้ภาษาเชิงบวกและจำลองแนวทางที่ ‘ทำได้’ เมื่อต้องตอบคำถามและความคิดเห็นเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินจากลูกของคุณและคนอื่นๆ
3. แสดงออกอย่างสุภาพเวลาจะขอร้องใคร เพื่อเป็นต้นแบบแก่เด็กๆ เพื่ออนาคตหากต้องจะขอร้องให้ใครช่วยสิ่งใด

ข้อมูล

4. ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้คนรอบตัวคุณเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน อุปกรณ์ช่วยฟังของบุตรหลานของคุณทำงานอย่างไร และพวกเขาช่วยเหลือบุตรหลานของคุณอย่างไร การแก้ไขปัญหาอุปกรณ์เบื้องต้น วิธีการสื่อสาร และการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม
5. สาธิตวิธีอธิบายและแบ่งปันข้อมูลนั้นให้ผู้อื่นฟังด้วยวิธีง่ายๆ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้วิธีแสดงออกข้อมูลนี้จากคุณ

เพื่อนและแบบอย่าง

6. สังเกตว่ามีเด็กรุ่นเดียวกัน หรือใครที่สูญเสียการได้ยินรอบตัวไหมหรือในโซเชียลมีเดีย เพื่อให้บุตรหลานของคุณพบปะหรือติดต่อด้วย การพบปะกับผู้อื่นที่สูญเสียการได้ยินช่วยให้บุตรหลานของคุณสามารถพูดคุย แบ่งปันคำแนะนำ เคล็ดลับที่ใช้ได้จริง และได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปรับใช้กับตัวเอง

โอกาส

7. บันทึกการแสดง ประสบการณ์ และความสำเร็จของบุตรหลานของคุณเพื่อแบ่งปันกับผู้อื่น ระบุและพัฒนาความสามารถของบุตรหลานของคุณเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความมั่นใจ

8. ใช้โอกาสในการกระตุ้นให้บุตรหลานของคุณพัฒนาความมั่นใจหรือฝึกฝนทักษะการสนับสนุนตนเองโดย:

  • การร้องขอจากบุคคลที่ไม่คุ้นเคย เช่น พนักงานเก็บเงิน คนใกล้ตัว
  • การบอกผู้อื่นเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟังของตน
  • ให้เขาลองพูดต่อหน้ากลุ่มคน

9. มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อสอนลูกของคุณว่าการพ่ายแพ้ ความผิดพลาด และความล้มเหลวเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เป็นโอกาสในการเรียนรู้ กระตุ้นให้ลูกของคุณพยายามอีกครั้งเมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายและชมเชยความพยายามของพวกเขาเวลาทำสิ่งยากๆ

 

อ้างอิงจาก MED-EL

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *