การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุ บางครั้งอาจส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และความเป็นอยู่โดยรวมหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาก็อาจทำให้การได้ยินลดลงได้ การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมอาจช่วยให้คุณสามารถกลับมาได้ยินเสียงอีกครั้ง และการฝึกการได้ยินก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานประสาทหูเทียมมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งานประสาทหูเทียม

มีหลายวิธีที่ผู้ใช้งานประสาทหูเทียมสามารถฝึกทักษะด้านการฟังผ่านกิจกรรมที่ชอบทำ และกิจวัตรประจำวันที่ทำในแต่ละวัน โดยที่คุณไม่รู้สึกเลยว่าคุณกำลังฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินอยู่ด้วย

ต่อไปนี้เป็น 3 วิธีที่คุณสามารถพัฒนาการฝึกการได้ยินด้วยประสาทหูเทียมให้เข้ากับกิจวัตรประจำวันของคุณได้ ด้วยการเชื่อมโยงการฝึกกับกิจกรรมประจำวัน ซึ่งจะทำให้คุณได้ฝึกฝนทุกวัน เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง และก้าวไปสู่การได้ยินที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ

 

1. การเขียนรายการช้อปปิ้ง

อาจจะให้คนในครอบครัวบอกรายการที่จะไปซื้อของให้กับคุณ เพื่อให้คุณเขียนรายการที่จะไปช็อปปิ้งว่ามีอะไรบ้าง หากว่าง่ายเกินไป ก็ขอให้พวกเขาพูดรายการเหล่านั้นเป็นประโยคยาวขึ้น หรือ วลี และให้อธิบายความหมาย ลักษณะสิ่งของนั้น ๆ เพิ่มเติมอีกด้วย เช่น :

“แม่อยากจะได้แอปเปิลสีแดงขอแบบกรอบ ๆ นะ”

“คุณพ่อ หนูขอเชดดาร์ชีสขูดเส้น 2 ห่อเพิ่มด้วยนะคะ”

 

2. การอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์

เริ่มจากการขอให้คนในครอบครัว เพื่อนสนิทหรือคนรอบข้างในการช่วยอ่านออกเสียงให้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิยาย หรือ สิ่งที่เราชอบและสนใจ เพราะจะทำให้คุณรู้สึกสนุกและสามารถฝึกได้ระยะยาว

ระดับ 1: ให้ดูข้อความหรือเนื้อหาไปด้วยขณะที่มีคนอ่านให้ฟังหรือคุณสามารถฝึกด้วยตัวเองได้ด้วยการเปิดฟังเสียงจากหนังสือที่มีเสียงพูด ให้เปิดอ่านหนังสือฉบับพิมพ์หรือหนังสือไปด้วยในเวลาเดียวกัน

ระดับ 2: ฟังเสียงขณะที่มีคนอ่านโดยไม่ต้องดูข้อความ และให้พวกเขาหยุดอ่านเป็นช่วง ๆ หรือ กลางประโยค จากนั้นให้คุณลองทวนคำหรือประโยคที่พวกเขาพูดก่อนหน้านี้ เพื่อเช็กว่าคุณได้ยินและเข้าใจถูกต้องหรือไหม หากเข้าใจผิดส่วนไหนก็ให้ผู้อ่านช่วยแก้ไขให้ทันที

ระดับ 3: ฟังขณะที่มีคนอ่านโดยไม่ต้องดูข้อความ ให้พวกเขาถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องนี้เพื่อให้คุณตอบ หรือ ให้คุณสรุปเนื้อหาให้พวกเขาฟังเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของคุณ

 

3. การพูดคุยระหว่างทำกิจกรรม

ขณะเดินเล่น ไปเที่ยว หรือ ทำกิจกรรมอะไรกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท ให้ลองทำกิจกรรมนั้น ๆ ไปพร้อมกับการผลัดกันบรรยายหรือพูดถึงสิ่งที่คุณเห็นและได้ยิน หรือ ทวนสิ่งที่พวกเขาถามเพื่อตอบ/อธิบายให้ฟังอีกครั้ง” เช่น:

“ผมว่าผมได้ยินเสียงลูกนกกระจอก” – “ผมก็ได้ยินเสียงลูกนกเหมือนกัน”

 “ผู้ชายคนนั้นใส่สวมหมวกน่าสงสัย” “ผู้ชายคนนั้นใส่ชุดคลุมแปลก ๆ ด้วย”

นอกจากนี้ การฝึกใช้งานประสาทหูเทียมสามารถเชื่อมโยงเข้ากับกิจกรรมได้เกือบทุกกิจกรรม โดยขอคนในครอบครัวหรือเพื่อนเพิ่มภาษาพูดในกิจกรรม เพื่อให้คุณสามารถทำตาม และโต้ตอบได้ แนะนำว่าอย่ากังวลที่จะทำผิดพลาด สนุกไปการทำกิจกรรมต่าง ๆ และใช้ชีวิตให้มีความสุขกับการได้ยินในแต่ละวัน

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก The MED-EL Blog

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *