ปัจจุบันนี้หลายๆโรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศไทยมีการเพิ่มการตรวจการได้ยินเข้าไปในแพคเกจโปรแกรมคลอดบุตรสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ซื้อแพ็คเกจคลอดบุตรไว้  ซึ่งในกรณีทารกแรกเกิดนี้ การตรวจการได้ยินจะเป็นชนิดการตรวจเพื่อคัดกรองการได้ยิน ซึ่งจะตรวจเมื่อทารกมีอายุครบ 24 ชม. หรือตรวจก่อนกลับบ้าน ซึ่งจะตรวจโดยใช้วิธีตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (Otoacoustic emission : OAEs)

ผลการตรวจจะแสดงออกมาเป็น 2 รูปแบบคือ  “ผ่าน” หรือ  “ไม่ผ่าน”

กรณีผลการตรวจคัดกรอง “ผ่าน”

             ผลตรวจคัดกรอง “ผ่าน” แสดงว่าหูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นในของทารกปกติ และสัมพันธ์กับระดับการได้ยินที่ดีกว่า 30 เดซิเบล แต่ผู้ปกครองยังคงต้องติดตามพัฒนาการทางภาษาของเด็กต่อไป หากพบว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้ากว่าปกติ หรือไม่แสดงท่าทีตอบสนองต่อเสียงแล้ว ผู้ปกครองจะต้องพาเด็กไปปรึกษาโสต ศอ นาสิกแพทย์ เพื่อตรวจหูและการได้ยินซ้ำ โดยพัฒนาการทางภาษาในเด็กโดยสังเขป มีดังนี้

กรณีผลการตรวจคัดกรอง “ไม่ผ่าน”

             ผลตรวจคัดกรอง “ไม่ผ่าน” อาจสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินที่ระดับมากกว่า 30 เดซิเบล แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากมีเสียงรบกวนอื่นๆขณะตรวจ เช่น ห้องตรวจเงียบไม่เพียงพอ มีเสียงเครื่องปรับอากาศหรือเสียงยานพาหนะรบกวน ผู้ป่วยขยับตัว กลืนนมเสียงดังหรือหายใจเสียงดัง ทำให้ตรวจวัดเสียงที่ปล่อยจากหูชั้นในไม่ได้ นอกจากนี้ความผิดปกติอื่นๆที่ไม่ได้เกิดจากการสูญเสียการได้ยิน เช่น ขี้หูอุดตัน น้ำคร่ำขังในหูชั้นกลาง ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลไม่ผ่านได้เช่นกัน

             ทารกที่ตรวจคัดกรองการได้ยินไม่ผ่าน จะได้รับการนัดติดตามเพื่อตรวจซ้ำอีกครั้งภายใน1 เดือน หากผลปกติผู้ปกครองยังคงต้องติดตามพัฒนาการทางภาษาต่อไป

              แต่หากผลการตรวจซ้ำยังคงไม่ผ่านเช่นเดิม ทารกจะได้รับการนัดพบแพทย์ หู คอ จมูก เพื่อส่องตรวจหู และตรวจวินิจฉัยการได้ยินแบบละเอียด เพื่อหาสาเหตุ รักษา ฟื้นฟู และเฝ้าระวังอย่างถูกต้องต่อไป

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *