หูดับเพราะแอลกอฮอล์ : การดูแลสุขภาพ “หู” เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย แต่ก็ใช่ว่าจะดูแลอย่างไรก็ได้ แต่เราต้องดูแลอย่างถูกวิธีด้วย โดยเฉพาะความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้น้ำยาหรือสารเคมีต่าง ๆ ที่นำมาหยอดหู เพราะคิดว่าเป็นการดูแลที่ถูกต้องแล้ว นอกจากอาการจะไม่ดีขึ้น ยังส่งผลกระทบที่ร้ายแรงอย่างเช่น “แก้วหูทะลุ” และ “สูญเสียการได้ยินถาวร” ได้อีกด้วย
จากกรณีล่าสุดจากข่าวของคุณ สมรักษ์ คำสิงห์ อดีตนักมวยโอลิมปิกชื่อดัง ที่ประสบปัญหานี้จากการใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลหยอดหู โดยหูของเขาเสียหายจนต้องพึ่งเครื่องช่วยฟังตลอดชีวิต
สมรักษ์ คำสิงห์ กับการ หูดับเพราะแอลกอฮอล์
เบสท์-รักษ์วนีย์ คำสิงห์ ลูกสาวของคุณ สมรักษ์ เปิดเผยในรายการ ศึก 12 ราศี ว่าเหตุการณ์นี้เริ่มต้นจากคุณพ่อของเธอไปเล่นฉากบู๊ที่มีเสียงปืนดังจนเกิดอาการหูอื้อ เมื่อกลับมาถึงบ้าน คุณพ่อจึงใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลหยอดหูเพื่อหวังให้หาย แต่กลายเป็นว่าแย่ลงกว่าเดิม
“เขาบอกว่าหยอดทุกวัน หยอดแล้วมันซ่า รู้สึกสดชื่น แต่สุดท้ายแก้วหูทะลุค่ะ!”
- หูข้างขวา ได้รับความเสียหายหนัก รูแก้วหูกว้างจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ด้วยตัวเอง
- หูข้างซ้าย ยังพอได้ยินบ้าง แต่ความสามารถในการได้ยินลดลง
ตอนนี้คุณพ่อต้องพึ่ง เครื่องช่วยฟัง ในการดำเนินชีวิต และอาจต้องผ่าตัดปิดรูแก้วหูเพื่อป้องกันไม่ให้การติดเชื้อร้ายแรงที่อาจลุกลามไปถึงสมอง
แอลกอฮอล์ล้างแผล ทำไมถึงเป็นศัตรูเงียบของหู
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าแอลกอฮอล์ล้างแผลเป็นยาครอบจักรวาล เนื่องจากสามารถฆ่าเชื้อ ล้างแผลต่าง ๆ อาจทำให้คิดว่าสามารถช่วยทำความสะอาดหู หรือบรรเทาอาการหูอื้อได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันกลับส่งผลตรงกันข้ามกับสิ่งที่คิด !
- การกัดกร่อนเนื้อเยื่อหู: เนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง เมื่อสัมผัสกับเยื่อแก้วหูหรือเนื้อเยื่อบอบบางในช่องหูโดยตรง จะทำให้เกิดการอักเสบหรือทะลุ
- ทำให้ช่องหูแห้ง: เนื่องจากแอลกอฮอล์นั้นดึงความชื้นออกจากเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดระคายเคืองและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- ความเสียหายที่ไม่สามารถรักษาได้: เนื่องจากเซลล์ประสาทในหูชั้นในที่ถูกทำลาย ไม่สามารถซ่อมแซมได้ จึงส่งผลให้สูญเสียการได้ยินอย่างถาวร
สัญญาณเตือนเมื่อหูของคุณมีปัญหา
หากคุณเผลอใช้น้ำยาหรือสารเคมีหยอดหู ควรสังเกตอาการต่อไปนี้
- หูอื้อหรือเจ็บในหู: อาการไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไปหลายวัน
- ได้ยินเสียงในหู (Tinnitus): เช่น เสียงหวีด เสียงคลื่น หรือเสียงดังผิดปกติ
- มีของเหลวไหลออกจากหู: ซึ่งอาจเป็นหนองหรือของเหลวที่มีกลิ่น
- การได้ยินลดลง: หรือได้ยินเสียงผิดเพี้ยน
หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจลุกลาม
วิธีดูแลหูให้ปลอดภัยและแข็งแรง
- ห้ามใช้น้ำยาหรือสารเคมีต่าง ๆ หยอดหู
หากมีปัญหาเกี่ยวกับหู เช่น หูอื้อ หรือขี้หูอุดตัน ควรปรึกษาแพทย์ อย่าพยายามรักษาด้วยตัวเอง - หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเสียงดัง
- หากจำเป็น ควรใส่ที่อุดหูเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เช่น คอนเสิร์ต งานก่อสร้าง หรือสนามยิงปืน
- ลดระดับเสียงลง เมื่อฟังเพลงผ่านหูฟังและไม่ควรใช้หูฟังติดต่อกันนานเกินไป ควรพักหูทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง
- ทำความสะอาดหูอย่างถูกวิธี
- ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดบริเวณรอบใบหูและช่องหูภายนอกก็เพียงพอแล้ว
- ห้ามใช้สำลีพันก้านแหย่ลึกเข้าไปในช่องหูเด็ดขาด เพราะอาจดันขี้หูเข้าไปลึกกว่าเดิม
- ตรวจสุขภาพหูเป็นประจำ
การตรวจสุขภาพหูทุกปี จะช่วยป้องกันปัญหาในระยะยาว และยังช่วยตรวจพบปัญหาเล็ก ๆ ก่อนที่มันจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพื่อที่เราจะสามารถเตรียมรับมือ และหาวิธีป้องกันได้
สามารถอ่านวิธีทำความสะอาดหูเพิ่มเติมได้ที่ 5 วิธีทำความสะอาดหู อย่างถูกวิธี และปลอดภัย
เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ควรทำอย่างไรดี
หากคุณหรือคนใกล้ตัวเผลอใช้น้ำยาหรือสารเคมีที่ไม่เหมาะสมหยอดหู ควรรีบพบแพทย์ทันที แพทย์อาจแนะนำการรักษา เช่น
- การใช้ยา: เพื่อรักษาการติดเชื้อ หรือบรรเทาอาการอักเสบ
- การผ่าตัด: เช่น การปิดแก้วหูที่ทะลุเพื่อป้องกันการลุกลาม
- การใช้เครื่องช่วยฟัง: หากการได้ยินลดลงอย่างถาวร
สรุปได้ว่า ความเสี่ยงจากการใช้น้ำยาหรือสารเคมีที่ไม่เหมาะสมหยอดหู แม้จะดูเหมือนเรื่องเล็ก ๆ แต่ผลที่ตามมาอาจร้ายแรงถึงขั้นต้องสูญเสียการได้ยินไปตลอดชีวิต
ดังนั้น อย่าปล่อยให้การดูแลหูที่ผิดวิธี มาทำลายการได้ยินของคุณ การป้องกันสามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ เพียงศึกษาหาข้อมูลวิธีทำความสะอาดหูที่ถูกต้องและปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีปัญหา เพราะ สุขภาพหูเป็นสิ่งสำคัญที่ควรดูแลให้ดี เพื่อให้คุณได้ยินเสียงของโลกใบนี้ไปอีกนาน
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ
image by Freepik
Line Official : @hearlifeth
Facebook: https://www.m.me/hearlifethai
No responses yet