เสียงในหู

เสียงในหู

อาการ เสียงในหู หรือ เสียงดังรบกวนในหู ทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า Tinnitus เป็นอาการที่ได้ยินเสียงต่าง ๆ ดังรบกวนในหู โดยไม่ได้มาจากแหล่งกำเนิดเสียงจากภายนอก เช่น เสียงวี๊ด เสียงหึ่ง หรือเสียงฮึมฮัม อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน จนส่งผลรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน 

สาเหตุของอาการ เสียงในหู

เสียงดังรบกวนในหู สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย โดยมีดังนี้

  1. ขี้หูอุดตัน เนื่องจากมีปริมาณขี้หูที่อุดตันอยู่ในรูหูเยอะเกินไป
  2. การสูญเสียการได้ยิน เกิดได้จากการเสื่อมตามวัยของอายุที่มากขึ้น, การได้ยินเสียงที่ดังเป็นระยะเวลานาน, เกิดจากการติดเชื้อ หรือเกิดความผิดปกติที่หูชั้นใน
  3. เกิดความผิดปกติที่หูชั้นกลาง เช่น เกิดการอักเสบของหูชั้นกลาง แก้วหูทะลุ หรือเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของท่อยูสเตเชียน
  4. เกิดจากโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองตีบ หรือเนื้องอก เป็นต้น
  5. ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ และยาแก้ปวดบางชนิด 
  6. เกิดจากความเครียด และความวิตกกังวล อาจส่งผลให้เสียงในหูดังรุนแรงขึ้น

ตัวอย่างอาการเสียงในหู

  • เสียงวี้ด ๆ
  • เสียงจิ้งหรีดร้อง
  • เสียงลม
  • เสียงฮึมฮัม
  • เสียงหึ่ง ๆ
  • เสียงพรึบพรับ
  • เสียงดังคลิกๆ
  • เสียงตุ้บ ตุ้บ เสียงฟู่ ตามจังหวะหัวใจหรือชีพจร
  • เสียงสะท้อน เสียงก้องในหู
  • เสียงคล้ายเครื่องจักร

เมื่อคุณมีอาการเสียงดังในหูคุณควรรีบไปปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพื่อที่จะได้ค้นหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดเสียงดังในหูและเพื่อรักษาให้เสียงที่ดังรบกวนในหูนั้นหายไปโดยเร็วที่สุด

สำหรับการตรวจประเมินอาการ เสียงในหู นั้น มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

  • ซักประวัติเกี่ยวกับลักษณะของเสียงที่ดังในหู ช่วงเวลาที่มีอาการ ความถี่ของอาการเสียงดังในหู 
  • การตรวจวัดระดับการได้ยิน 
  • ตรวจแยกเสียงและการได้ยินของปลายประสาทรับเสียงในหูชั้นใน โดยวัด SISI Score (Recruitment Test)
  • ตรวจแยกเสียงและการได้ยินส่วนประสาทรับเสียง ความล้าของสมอง 
  • ตรวจวัดการได้ยินโดยวิธีพิเศษ เพื่อแยกตำแหน่งรอยโรค 
  • ตรวจวัดการได้ยินในระดับก้านสมอง

การตรวจทั้งหมดนี้เป็นเพียงการวินิจฉัยอาการเสียงดังรบกวนในหูเพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนในหูเท่านั้น 

หากโชคดีที่เสียงรบกวนในหูเกิดขึ้นจากสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายได้อาการเสียงรบกวนในหูก็จะหายไปหลังทำการรักษา แต่หากอาการเสียงดังรบกวนในหูนั้นไม่สามารถรักษาได้ แพทย์อาจแนะนำการบำบัดด้วยวิธีอื่นๆเช่น การบำบัดด้วยเสียง เป็นต้น

การดูแลสุขภาพหูให้ดี สามารถป้องกันอาการ เสียงในหู ได้ดังนี้

  • อย่าใส่หูฟังนานจนเกินไป และควรปรับระดับเสียงให้ดังในระดับที่เหมาะสม
  • ถอดหูฟัง เป็นระยะ ทุก ๆ 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู
  • ไม่ควรปั่น หรือ แคะหูเด็ดขาด 

สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำความสะอาดหูได้ที่ >> 5 วิธีทำความสะอาดหู ด้วยตัวเอง <<

ทั้งนี้ อาการเสียงดังรบกวนในหูของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป มีตั้งแต่เสียงต่ำไปจนถึงเสียงสูง บ้างได้ยินเบาๆ บ้างก็ได้ยินดังมาก บ้างก็ดังในหูข้างใดข้างหนึ่ง บ้างก็ดังในหูทั้งสองข้าง บางคนอาจมีอาการเพียงชั่วคราวซึ่งนานๆถึงจะได้ยินสักครั้ง และจะได้ยินเสียงชัดเจนที่สุดเมื่ออยู่ในสถานที่เงียบ ๆ 

ในขณะที่บางคนอาจได้ยินดังอยู่ตลอดเวลาซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือทำให้มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น หงุดหงิด อ่อนเพลีย เครียด วิตกกังวล มีปัญหาด้านความจำหรือการนอนหลับ เป็นต้น

ดังนั้น หากท่านใดมีอาการเสียงรบกวนในหู แล้วมีอาการปวดหูร่วมด้วย หรืออาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพบแพทย์ทันที  

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ

image by Freepik

Line Official : @hearlifeth

Facebook: https://www.m.me/hearlifethai

หรือโทร 02-693-9411

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *