การคัดกรองการได้ยิน

การคัดกรองการได้ยิน

การคัดกรองการได้ยิน ในทารก : การตรวจการได้ยินในเด็กทารก เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่พ่อ แม่ ไม่ควรละเลย เนื่องจากเป็นการป้องกันปัญหาการได้ยินต่าง ๆ ไม่ให้ไปขัดขวางพัฒนาการของเด็กทั้งด้านการเรียนรู้ และการพูดในอนาคต

การคัดกรองการได้ยิน ในทารก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทารกปกติ และ ทารกกลุ่มเสี่ยง

ทารกปกติ

ตรวจคัดกรองการได้ยินด้วย TEOAE ครั้งแรก เมื่อเด็กอายุมากกว่า 48 ชั่วโมง ถ้าผลการตรวจไม่ผ่าน ตรวจ TEOAE ซ้ำอีกครั้ง ภายหลังการตรวจครั้งแรกประมาณ 1 สัปดาห์ ถ้าผลยังไม่ผ่าน เด็กต้องได้รับการตรวจหูโดยโสตศอนาสิกแพทย์ และการตรววจ ABR เพื่อการวินิจฉัยเป็นขั้นตอนต่อไป

ทารกกลุ่มเสี่ยง

ตรวจคัดกรองการได้ยินด้วย A-ABR ครั้งแรกเมื่อเด็กพร้อม ถ้าผลตรวจไม่ผ่าน ตรวจ A-ABR ซ้ำ อีกครั้งภายหลังการตรวจครั้งแรกประมาณ 1 เดือน ถ้าผลตรวจไม่ผ่านเด็กต้องได้รับการตรวจหูโดยโสตศอนาสิกแพทย์ และตรวจ ABR เพื่อการวินิจฉัย

ผลการตรวจ OAE ไม่ผ่านอาจมีสาเหตุจากที่มีขี้หูอุดตันอยู่ หรือมีรูหูแคบ นิ่มมาก มีพยาธิสภาพในหูชั้นกลาง หรือ ปลายประสาทรับเสียงเสีย ดังนั้น การที่ตรวจ OAE ไม่ผ่านนั้นไม่ได้แสดงว่าเด็กจะหูตึง จะต้องมีการตรวจซ้ำเพื่อการวินิจฉัยที่ชัดเจน ถ้าพบความผิดปกติจะได้รับการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย

เด็กทารกที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน มีดังนี้

  • มีญาติหูหนวก หูตึง หรือเป็นใบ้ ตั้งแต่เด็ก
  • มารดาติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน Cytomegalovirus เป็นต้น
  • คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่าเกินปกติ 1500 กรัม
  • มีภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอดอย่างรุนแรง
  • มีความผิดปกติของใบหน้าตั้งแต่กำเนิด
  • ภาวะการติดเชื้อ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ได้รับยาที่เป็นอันตรายต่อประสาทหู

หากท่านใดสนใจอยากปรึกษาเกี่ยวกับ เครื่องช่วยฟัง ประสาทหูเทียม สามารถติดต่อมาได้ที่ hearLIFE เรามีผลิตภัณฑ์ที่พร้อมรองรับทุกปัญหาการได้ยิน และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาการได้ยินที่พร้อมให้คำปรึกษา และบริการ

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ

image by Freepik

Line Official : @hearlifeth

Facebook: https://www.m.me/hearlifethai

หรือโทร 02-693-9411

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *