ประสาทหูเทียม

เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากการตรวจหาความผิดปกติอวัยวะภายในต่างๆ บนร่างกาย และมีการใส่อวัยวะเทียมเช่น ประสาทหูเทียม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งวิธีในการตรวจนั้นมี

  1. การตรวจ CT Scan (Computerized Tomography Scan) และ 
  2. การตรวจ MRI (Magnetic Resonance Imaging)

รู้จักกับ CT Scan และ MRI

  • CT Scan คืออะไร?
    เป็นการตรวจที่มีความซับซ้อน และละเอียดมากกว่าการ X-ray แบบธรรมดา โดยแพทย์จะฉายรังสีเอกซเรย์ไปยังบริเวณที่ต้องการตรวจบนร่างกาย เพื่อดูอวัยวะภายใน และทำการตรวจวินิจฉัยโรคหรือติดตามโรคเป็นระยะๆ ซึ่งจะแสดงเป็นภาพ 3 มิติ ที่สามารถมองเห็นอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน
  • MRI  คืออะไร?
    เป็นการตรวจร่างกายโดยใช้เครื่องตรวจคลื่นสนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ ด้วยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างภาพเสมือนจริงของอวัยวะภายในต่าง ๆ ของร่างกาย  ด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นจุดที่ผิดปกติในร่างกายได้อย่างละเอียด สามารถตรวจวินิจฉัยรอยโรคได้อย่างตรงจุดมากขึ้น ซึ่งการตรวจแบบ MRI จะมีความละเอียดมากกว่าการตรวจ CT Scan และเป็นวิธีที่ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวกับผู้ป่วย

เปรียบเทียบข้อแตกต่างของ CT Scan และ MRI

  1. CT Scan ต้องใช้รังสี แต่ MRI ใช้การสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
    การตรวจ CT Scan เป็นการปล่อยลำแสง X-ray ผ่านลำตัวผู้รับการตรวจ เพื่อให้เกิดเงาภาพบนฉากที่รองรับลำแสงที่อยู่อีกด้านหนึ่งของลำตัว
    ส่วน MRI เป็นการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบตัวผู้รับการตรวจ โดยตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของพลังงานในสนามแม่เหล็กนั้น ในปัจจุบันยังไม่พบว่าการตรวจแบบ MRI มีผลกระทบกับสุขภาพดังนั้นการตรวจ MRI จึงมีความปลอดภัยมากกว่าการตรวจ CT Scan โดยเฉพาะสตรีที่ตั้งครรภ์ก็สามารถเข้ารับการตรวจแบบ MRI ได้
  2. MRI เหมาะกับการตรวจเนื้อเยื่ออ่อน แต่  CT Scan เหมาะกับการตรวจกระดูก
    การตรวจ MRI เป็นการตรวจจับการเคลื่อนที่ของโปรตอนของน้ำ ดังนั้นอวัยวะที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก เช่น เนื้อเยื่ออ่อน กล้ามเนื้อ หลอดเลือด เนื้อสมอง เป็นต้น ก็จะสร้างสัญญาณให้ตรวจจับได้ดีกว่ากระดูก ที่แทบจะไม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นหากต้องการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับกระดูก จึงควรเลือกตรวจด้วย CT Scan

  3. CT Scan ใช้เวลาในการตรวจสั้นกว่า MRI
    เครื่องตรวจ CT Scan การปล่อยลำแสง พร้อมหมุนรอบตัวผู้รับการตรวจ มักใช้เวลาไม่เกิน 10-15 นาทีเท่านั้นการตรวจ MRI ใช้เวลานานมากกว่า CT Scan บางครั้งอาจนานถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งอาจเป็นปัญหาสำหรับบางคนที่กลัวการอยู่ในที่แคบ (Claustrophobia)
    การตรวจ MRI สารเพิ่มความชัดของภาพจะเป็น Gadolinium ไม่ได้มีไอโอดีน (Iodine) จึงไม่เป็นพิษกับไต อย่างไรก็ตาม สารที่ใช้ในการตรวจ MRI ก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติทางผิวหนังในระยะยาวได้ ซึ่งเรียกว่า Nephrogenic systemic fibrosis โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไต ที่วัดค่า Glomerular Filtration Rate (GFR) ได้น้อยกว่า 30 มล./นาที

  4. โลหะเป็นของต้องห้ามสำหรับ MRI
    หากคุณมีโลหะในตัวแล้วตรวจแบบ CT Scan สามารถทำได้แต่ภาพที่ได้จะอาจมีความเบลออยู่บ้าง เนื่องจากโลหะมักจะทึบและลำแสง X-ray ผ่านไม่ได้จึงมักภาพเงาบริเวณใกล้ๆ กับโลหะการตรวจ MRI ผู้รับการตรวจจะต้องเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กขนาดใหญ่ หากมีโลหะทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กนั้นด้วย ก็อาจทำให้เกิดการเคลื่อนที่ และเป็นอันตรายได้ ดังนั้นจึงต้องนำโลหะออกก่อนเข้าตรวจ MRI เช่น กิ๊บ กุญแจ ฟันปลอมถอดได้ ชิปต่าง ๆ นาฬิกา ปากกา

    รวมไปถึงผู้ใช้งานประสาทหูเทียมที่มีแม่เหล็กอยู่ที่อุปกรณ์ฝังภายในศีรษะก็อาจจะต้องนำแม่เหล็กออกก่อนทำ MRI ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากว่าตอนนี้คุณกำลังใช้เครื่องประสาทหูเทียมของ MED-EL อยู่ ก็ไม่มีอะไรที่ต้องกังวล เพราะผู้ใช้งานประสาทหูเทียม MED-EL ทั้งหมด สามารถทำ MRI ได้ที่ 1.5 Tesla ซึ่งเป็นการสแกนที่มีความละเอียดต่ำ และหากว่าเป็นการใช้งานประสาทหูเทียมรุ่นล่าสุดของเรา ได้แก่ รุ่น SYNCHRONY และ SYNCHROY ST คุณจะสามารถเข้ารับการสแกน MRI ได้สูงสุดถึง 3.0 Tesla ซึ่งเป็นการสแกนที่มีความละเอียดสูงได้โดยไม่ต้องผ่าตัดเอาแม่เหล็กออก

    นอกจากนี้หากคุณเป็นผู้ใช้งาน BONEBRIDGE หรือ VIBRANT SOUNDBRIDGE รุ่นล่าสุดคุณสามารถทำ MRI ที่ 1.5 Tesla ได้เช่นกัน

  5. ข้อจำกัดในการตรวจ MRI กับ CT Scan
    การตรวจ CT Scan เป็นการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะส่วนต่างๆ โดยต้องมีการฉีดสารทึบแสงให้กับผู้ป่วยเพื่อเพิ่มความชัดเจนของภาพ ซึ่งสารชนิดนี้มักมีส่วนประกอบของไอโอดีน (Iodine) ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดพิษกับไตได้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่ก่อนแล้วนอกจากนี้การใช้สารทึบรังสี ก็อาจเกิดโอกาสแพ้ได้ในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยสตรีที่ตั้งครรภ์ และเด็กการตรวจ MRI ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดติดตั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือโลหะภายในร่างกายบางชนิด เช่น 
  • ผู้ที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ
  • ผู้ที่ผ่าตัดคลิปอุดหลอดโลหิต (aneurysm clips)
  • ผู้ที่ผ่าตัดฝังอวัยวะเทียมภายในหู (ear implants) และ
  • ผู้ที่มีโลหะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ข้อเทียมต่างๆ หรือ โลหะดามกระดูก

ดังที่กล่าวไปในข้อที่ 5 ว่าหากบุคคลที่กล่าวมาเข้าไปในสนามแม่เหล็ก ก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้

ข้อมูลจาก
Paolohospital
PhyathaiHospital

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *