ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงรำคาญไม่น้อยเวลาที่รู้สึกหูตัน ๆ จนอยากจะแคะขี้หูที่ค้างอยู่ออกมา แต่อย่างไรก็ตาม หากเราทำความสะอาดหูอย่างไม่ถูกวิธี ก็อาจส่งผลให้หูของเราเกิดการอักเสบได้ ดังนั้น วันนี้ hearLIFE จะมาส่งต่อ วิธีทำความสะอาดหู ที่ถูกวิธีและปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อหูของทุกคน
5 วิธีทำความสะอาดหู ด้วยตัวเอง
1.ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ
ใช้ผ้าที่ชุบน้ำอุ่นเช็ดบริเวณภายนอกหู หากใช้คอตตอนบัด ให้ใช้เฉพาะบริเวณภายนอกหูเช่นกัน เนื่องจากการใช้คอตตอนบัดแหย่เข้าไปในรูหู อาจผลักขี้หูให้เข้าไปลึกมากขึ้น หรืออาจทำให้เยื่อแก้วหูอักเสบได้
2.ใช้ยาหยอดหู
ยาหยอดหูจะทำให้ขี้หูที่สะสมและค้างอยู่ด้านในนั้นนุ่มขึ้น และหลุดออกมาได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
- เอียงศีรษะข้างที่ต้องการหยอดให้อยู่ด้านบน หยอดยาเข้าไปในหูตามที่กำหนด ไม่ควรให้หลอดยาเข้าไปในรูหู
- ตะแคงศีรษะให้อยู่ท่าเดิม เพื่อรอยาทำปฏิกิริยา อย่างน้อย 5-10 นาที
- หลังจากนั้น ให้ยาไหลออกมาจากหู แล้วเช็ดทำความสะอาด
3.ใช้น้ำมันมะกอก
ส่วนประกอบของน้ำมันมะกอกมีกรดไขมัน และวิตามินอี สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ช่วยทำให้ขี้หูนุ่มลง และหลุดออกมาได้ง่ายขึ้น
- เทน้ำมันมะกอกลงในหลอดหยด และบีบใส่รูหู 2-3 หยด
- เอียงหรือขยับเล็กน้อยเพื่อให้น้ำมันมะกอกเข้าไปด้านใน
- ตะแคงศีรษะอีกข้างขึ้น เพื่อให้ขี้หูไหลออกมาพร้อมน้ำมันมะกอก
- หากมีแมลงเข้าหู สามารถใช้น้ำมันมะกอกหยดลงไปเพื่อให้แมลงตาย แล้วจึงไปพบแพทย์เพื่อนำแมลงออก
4.น้ำเกลือ
น้ำเกลือสามารถกำจัดขี้หูที่อุดตันอยู่ได้ โดยการทำให้ขี้หูนุ่มลง และไหลออกมาได้ง่ายขึ้น
- นำสำลีมาจุ่มกับน้ำเกลือที่เตรียมไว้
- เอียงศีรษะด้านที่ต้องการขึ้น และใส่สำลีอุดในรูหู
- รอให้น้ำเกลือนำปฏิกิริยากับขี้หูประมาณ 3 – 5 นาที หลังจากนั้นตะแคงศีรษะลง และนำสำลีออกเพื่อให้ขี้หูไหลออกมาพร้อมกับน้ำเกลือ
5.ใช้หลอดฉีดยาสำหรับล้างหู
หากใครมีหลอดฉีดยาสำหรับล้างหู หรือหลอดเข็มฉีดยาหูยาง ก็สามารถใช้น้ำอุ่นหรือน้ำเกลืออุ่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น โดยการหยดเข้าไปในรูหูเพื่อทำให้ขี้หูอ่อนตัว รอประมาณ 15 นาที แล้วทำความสะอาดหลังจากขี้หูไหลออกมา
ขี้หูสามารถหลุดออกมาเองได้ไหม ?
โดยปกติแล้ว ขี้หูสามารถหลุดออกมาเองได้ด้วยกลไกการทำงานของร่างกาย แต่บางทีก็มีขี้หูที่ไปเกาะตัวอยู่กับฝุ่นทำให้เกิดการอุดตัน เกิดเป็นก้อนแข็ง ๆ ทำให้รู้สึกเจ็บในช่องหูได้
แต่ในบางกรณีสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติทางช่องหู เช่น ภาวะรูหูแคบ หรือมีการติดเชื้อของรูหูชั้นนอก แพทย์แนะนำว่าไม่ควรทำความสะอาดรูหู เพราะจะเกิดการอุดตันได้มากกว่าคนทั่วไป
วิธีป้องกันขี้หูสะสมจนอุดตัน
- ระวังไม่ให้น้ำเข้าหู เนื่องจากน้ำสามารถทำให้ขี้หูพองตัวขึ้น และทำให้อุดตันได้ง่าย
- ดูแลรักษาความสะอาด ควรทำความสะอาดหูด้านนอกเป็นประจำ โดยการใช้ผ้าที่ชุบน้ำอุ่น ๆ เช็ดที่บริเวณหูด้านนอก
สิ่งที่ต้องระวังเวลาทำความสะอาดขี้หู
- ห้ามใช้คอตตอนบัดหรือไม้แคะหู เพราะจะทำให้ขี้หูถูกผลักเข้าไปลึกขึ้น และอาจทำให้เยื่อแก้วหูอักเสบได้ ดังนั้น ควรเช็ดที่บริเวณด้านนอกก็เพียงพอแล้ว
- ห้ามใช้สารละเคมีอื่น ๆ หยดเข้าไปในรูหู เพื่อหลีกเลี่ยงทำให้หูเกิดความระคายเคือง และอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้
วิธีป้องกันหูระยะยาว
นอกจากการทำความสะอาดหูเป็นประจำแล้ว เราควรปกป้องหูของเราเพื่อรักษาการได้ยินที่ดีของเราให้ยาวนานขึ้น
- อย่าใส่สิ่งของใด ๆ เข้าไปในหูเด็ดขาด เราไม่ควรเอาสิ่งของขนาดเล็กเข้าไปในรูหู เพราะอาจทำให้เกิดการอุดตัน หรืออาจทำให้เยื่อแก้วหูบาดเจ็บได้
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง การอยู่ในที่ที่มีเสียงดังเกินไปจะส่งผลต่อการได้ยินของเราได้ หากมีความจำเป็นควรหาอุปกรณ์ป้องกันเสียงมาสวมใส่ เช่น ที่อุดหู
- พักการใช้หูฟังทุก ๆ ชั่วโมง และลดระดับเสียงลงไม่ให้ดังจนเกินไป เพราะในระยะยาวจะส่งผลต่อการได้ยินได้
- เช็ดหูให้แห้งทุกครั้งเสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของหู
- พยายามสังเกตการณ์ได้ยินของตัวเอง ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หรือไม่ หากพบควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อหาทางรักษา
- พบแพทย์ทันที หากเกิดปัญหาสูญเสียการได้ยินอย่างฉับพลัน หรือมีอาการปวดหูที่รุนแรง เพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงที
แม้การทำความสะอาดหู ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก แต่ถ้าหากเพื่อน ๆ ทำอย่างไม่ระมัดระวัง หรือไม่รักษาความสะอาด ก็อาจส่งผลร้ายแรงต่อหูของเราได้เช่นกันนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.healthline.com/health/how-to-clean-your-ears
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ
image by Freepik
Line Official : @hearlifeth
Facebook: https://www.m.me/hearlifethai
หรือโทร 02-693-9411
No responses yet