การเล่นเกม มีความเสี่ยง-01

การเล่นเกม มีความเสี่ยง-01

ในปัจจุบัน การเล่นเกม เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก จนเกิดเป็นอาชีพต่าง ๆ เช่น นักกีฬาอีสปอร์ต หรือสตรีมเมอร์ เป็นต้น แต่เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่า จากผลสำรวจล่าสุดผู้ที่มีอายุช่วง 18-35 ปี มากกว่าครึ่งมีความเสี่ยงต่อ การสูญเสียการได้ยิน เนื่องจากเล่นเกมที่มีเสียงดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และบางคนก็เริ่มพบว่ามี ปัญหาทางการได้ยิน 

โดยนักวิจัยศึกษาจาก WHO ค้นพบว่า การเล่นเกมยิงปืน มีระดับเสียงอยู่ที่ 88-91 เดซิเบล (dB) ซึ่งดังเท่ากับการตะโกนของมนุษย์ในระยะใกล้ ๆ หู ซึ่งเสียงเหล่านี้ควรไม่กระทบต่อหูเกิน 4 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ สำหรับผู้ใหญ่

จากการสำรวจล่าสุดที่สำคัญ ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2567 ที่เผยแพร่โดย American Speech-Language-Hearing Association (ASHA), the World Health Organization (WHO)/Pan American Health Organization (PAHO), และความร่วมมือจาก WHO Collaborating Center for Rehabilitation in Global Health Systems at the University of Lucerne, Switzerland.

“พวกเขาเริ่มมีปัญหาทางการได้ยิน และมีปัญหาในการสนทนาในที่มีเสียงรบกวน มีอาการหูอื้อ มีเสียงอื้อในรูหูของพวกเขา และน่าเสียดายที่พวกเขาอาจมีแนวโน้มที่ไม่สามารถฟื้นฟูการได้ยินให้กลับมาเป็นดังเดิมได้” กล่าวโดย Lindsay Creed, Au.D  รองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการด้านโสตวิทยา จาก ASHA แต่ข่าวดีก็คือ ผู้เข้าร่วมทดสอบการวิจัยส่วนใหญ่ยินดีที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การเล่นเกม หากสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางการได้ยิน

จากผลลัพธ์พบว่า เกือบ 30% ผู้ที่ใช้หูฟังเป็นระยะเวลานาน เปิดเสียงที่ดังมากกว่าระดับปกติทั่วไป และมีการเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ที่ส่งผลเสียต่อการสูญเสียการได้ยิน ได้แก่ การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เช่น คอนเสิร์ต หรือเสียงจากเครื่องจักร เป็นต้น

ตัวอย่างจากผลสำรวจ“ Video Gamer Safe Listening Poll ” [PDF]

  • จากทั่วโลก มากกว่า 3 ใน 4 มีกิจกรรมที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งรวมถึง 52% เป็นผู้ที่ใช้หูฟังเป็นเวลานาน หรือเปิดเสียงดัง
  • แต่ส่วนใหญ่คนเหล่านี้เชื่อว่าพฤติกรรมการฟังของเขายังอยู่ในระดับปกติ ทั้งในแง่ระดับเสียง (71%) และระยะเวลาในการฟัง (68%)
  • มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่เล่นเกมรายงานว่ามีปัญหาการได้ยิน โดย 1 ใน 4 ของคนกลุ่มนี้ทราบว่าพฤติกรรมการเล่นวิดีโอเกมของพวกเขามีส่วนที่ส่งผลกระทบต่อการได้ยิน
  • น้อยกว่า1 ใน 3 ของผู้ที่เล่นเกม รู้สึกว่าตัวเองเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินจากการเล่นวิดีโอเกม
  • การป้องกันปัญหาการได้ยินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่เล่นวิดีโอเกม (87%)

อย่างที่ทราบกันดีว่า การเล่นเกม ได้รับความนิยมอย่างมาก รวมถึงประเทศไทย ที่มีกลุ่มผู้เล่นที่ยังเป็น กลุ่มเยาวชน และกลุ่มวัยรุ่น ที่ระบบประสาทการได้ยินมีความบอบบางลงไปมากกว่าเดิม เนื่องจากการทำพฤติกรรมดังกล่าว ดังนั้นเราควรหาวิธีป้องกัน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเล่นเกม เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับการได้ยินของเรา ซึ่งขั้นตอนการป้องกันสามารถทำได้ ดังต่อไปนี้

  • ลดระดับเสียงเกม หรืออุปกรณ์การได้ยินลง 50% 
  • ใช้หูฟังที่มีระบบตัดเสียงรบกวนรอบข้าง เพื่อป้องกันปัญหาการเปิดเสียงดังเพื่อกลบเสียงด้านนอก
  • พักหูบ่อย ๆ ทุก ๆ ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู
  • พยายามสังเกตการได้ยินของตัวเองเป็นประจำ หากพบปัญหาควรรีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น

ระดับเสียงของ การเล่นเกม เป็นหนึ่งในปัจจัยของความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการได้ยินของมนุษย์ เราจึงควรศึกษาวิธีป้องกัน และหาทางรับมือในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น หากสายเกินไปอาจต้องสวมใส่ เครื่องช่วยฟัง หรือผ่าตัดเพื่อฝั่งประสาทหูเทียม 

 

ข้อมูลจาก: ASHA, WHO, PAHO, University of Lucerne, Switzerland.

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ

image by Freepik

Line Official : @hearlifeth

Facebook: https://www.m.me/hearlifethai

หรือโทร 02-693-9411

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *