อาการหูตึง

อาการหูตึง

ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาการหูตึง อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น หูตึงเกิดขึ้นได้เฉพาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น หรือหูตึงคือเวรกรรม ซึ่งทำให้เกิดการดูแลรักษาที่ล่าช้า และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน วันนี้ hearLIFE จะพาทุกคนไปแก้ไขความเข้าใจผิด เกี่ยวกับความเชื่อของอาการหูตึงกันครับ

1. หูตึง เกิดขึ้นได้เฉพาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น ?

ใครที่กำลังคิด หรือมีความคิดแบบนี้อยู่ ผมคงต้องบอกว่าความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ผิดนะครับ เพราะความจริงแล้ว หูตึง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ และทุกวัย โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน ดังนั้น หากใครรู้สึกว่าหูตัวเองเริ่มได้ยินไม่ชัด ควรพบแพทย์ เพื่อประเมินอาการและทำการรักษาโดยไวที่สุด หากปล่อยไว้นาน อาการอาจรุนแรงขึ้น 

ตัวอย่างสาเหตุของการเป็นหูตึง

  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน 
  • การใส่หูฟัง โดยเปิดระดับเสียงที่ดังเกินไป
  • กรรมพันธุ์, อุบัติเหตุที่กระทบศีรษะอย่างรุนแรง

ดังนั้น หูตึง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงอายุ 

2. หูตึง เป็นเวรกรรม 

ประเทศไทย กับความเชื่อ ถือเป็นของที่อยู่คู่กันมานาน เปรียบเสมือนบทเรียนจากคนยุคก่อนที่ไว้ใช้เตือนคนรุ่นใหม่ และรุ่นต่อ ๆ มา โดยมีหลายความเชื่อที่เป็นเรื่องจริง แต่ผมคงต้องบอกว่า ความเชื่อที่ว่า หูตึงเป็นเวรกรรม เป็นความเชื่อที่ผิดนะครับ 

อย่างที่บอกไปใน ข้อ 1 หูตึง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุของแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป 

ดังนั้น หูตึง ไม่ได้เกิดจากเวรกรรม 

3. หูตึง สามารถรักษาให้หายขาดได้ 

ในข้อนี้ ผมคงต้องเสียใจกับทุกคนด้วยจริง ๆ ครับ เพราะ หูตึง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อย่าพึ่งหมดหวังไปนะครับ เพราะเราสามารถป้องกันไม่ให้อาการที่เกิดขึ้นกับเราแย่ลง หรือร้ายแรงขึ้นได้นะครับ เนื่องจาก เซลล์ประสาทหูของเรานั้น หากเสียหายไปแล้ว การจะฟื้นฟูสภาพให้กลับมาเหมือนเดิมเป็นเรื่องที่ยาก

ดังนั้น หูตึง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกัน และบรรเทาอาการไม่ให้แย่ลงได้ 

4. หูตึง หากเป็นแล้ว จะซื้อเครื่องช่วยฟังจากไหนมาใช้ก็ได้

สำหรับข้อนี้ ใครที่กำลังมีความคิดแบบนี้อยู่ ผมขอให้ล้มเลิกความคิดนี้ทันที เนื่องจากเป็นความคิดที่ผิด นะครับ เพราะ เราไม่สามารถหาซื้อเครื่องช่วยฟังที่ไหนก็ได้มาใช้ ซึ่งความจริงแล้ว เราควรพบแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจการได้ยิน และเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับระดับการได้ยินของเรา ทั้งยังไม่ทำให้อาการของเราแย่ลงอีกด้วย 

หากเราซื้อเครื่องช่วยฟังที่ไม่เหมาะสมกับระดับการได้ยินของตัวเอง จะยิ่งทำให้อาการหูตึงของเรานั้นแย่ลง

อาจส่งผลกระทบต่อคลื่นความถี่ที่เราได้ยินปกติดี เกิดความเสียหายได้

ดังนั้น หูตึง ไม่สามารถซื้อเครื่องช่วยฟังจากไหนมาใช้ก็ได้ ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับระดับการได้ยินของเรา

5. หูตึง สามารถป้องกันได้ หากเราตรวจการได้ยินทุกปี 

ยินดีด้วยครับ หากใครกำลังคิดแบบนี้อยู่ การที่เราใส่ใจสุขภาพถือเป็นเรื่องที่ดีแน่นอน เพราะ การตรวจการได้ยิน สามารถช่วยเราป้องกันอาการหูตึงได้ แต่หลายคนมักจะมองข้ามไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการตรวจการได้ยิน เนื่องจากมีความคิดที่ว่าก็แค่หูเอง หรือบางคนอาจไม่ทราบความเปลี่ยนแปลงของเสียงที่ได้ยินปกติในชีวิตประจำวัน ว่าเบาลงหรือไม่ ดังนั้น หากเราตรวจการได้ยินเป็นประจำทุกปี เราจะทราบถึงสุขภาพหูของเรา ทั้งยังรู้วิธีการป้องกันการสูญเสียการได้ยินอีกด้วย

ดังนั้น การตรวจการได้ยินเป็นประจำทุกปี เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง 

แล้วจะทำอย่างไรดีเมื่อเราหูตึง 

  • ปรึกษาแพทย์ ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อตรวจสอบถึงสาเหตุของอาการ และหาแนวทางการรักษา
  • สวมใส่เครื่องช่วยฟัง เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายเสียงให้ดังขึ้น ทำให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินสามารถได้ยินเสียงที่ดีขึ้น แต่เครื่องช่วยฟัง ควรเลือกให้เหมาะกับระดับการสูญเสียการได้ยินของเรา

สามารถอ่านเรื่องหูตึงเพิ่มเติมได้ที่ >> อันตรายกว่าที่คิด อาการ หูตึง : ภาวะที่ไม่ควรมองข้าม

อาการหูตึง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ถึงแม้เราจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถป้องกัน และบรรเทาไม่ให้อาการแย่ลงจนเกิดความร้ายแรงได้ ดังนั้น เราควรเอาใจใส่ดูแลสุขภาพหูของเราให้ดี และหาเวลาไปตรวจการได้ยินเป็นประจำ 

สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน หากท่านมีคนใกล้ชิดที่มีความเชื่อแบบผิด ๆ แบบนี้อยู่ ควรรีบพูดคุย และปรับความเข้าใจกัน เพราะอาจพลาดโอกาสการเข้ารับการรักษา และทางป้องกัน จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้

หากท่านใดสนใจอยากปรึกษาเกี่ยวกับ เครื่องช่วยฟัง ประสาทหูเทียม สามารถติดต่อมาได้ที่ hearLIFE เรามีผลิตภัณฑ์ที่พร้อมรองรับทุกปัญหาการได้ยิน และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาการได้ยินที่พร้อมให้คำปรึกษา และบริการ

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ

image by Freepik

Line Official : @hearlifeth

Facebook: https://www.m.me/hearlifethai

หรือโทร 02-693-9411

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *