การสูญเสียการได้ยิน

ปัจจุบันประชากรในไทยมีแนวโน้มที่จะสูญเสียการได้ยินเพิ่มมากขึ้น การสูญเสียการได้ยิน นั้นเกิดจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตต่าง ๆ  เช่น การใส่หูฟัง การไปคอนเสิร์ต หรือจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน แต่ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ คนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัวว่าการได้ยินของตนเองมีปัญหา ทั้งยังปฏิเสธเข้ารับการรักษาแต่เนิ่น ๆ

ในปี 2561 ประชากรทั่วโลกมีประมาณ 360 ล้านคน และในไทยพบว่ามี 2.7 ล้านคน มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียการได้ยิน โดยกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานมีแนวโน้มที่หูจะเสื่อมมากขึ้น จากสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ อาทิเช่น จากกรรมพันธุ์ การติดเชื้อไวรัส หรืออุบัติเหตุที่กระทบทางศีรษะ 

นักโสตสัมผัสวิทยา คือใคร

ลักษณะอาการเบื้องต้นของผู้มีปัญหา การสูญเสียการได้ยิน

  • ได้ยินเสียงซ่า ๆ ในหู 
  • รู้สึกหูอื้อตลอดเวลา
  • พยายามเปิดเสียงเพลง หรือโทรทัศน์ที่ดังมากกว่าปกติ
  • ชอบให้คนอื่นพูดซ้ำ ๆ เนื่องจากไม่ได้ยิน

หากพบอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยประเมินอาการ หาสาเหตุ เช่น เกิดจาการมีขี้หูอุดตัน หรือร้ายแรงขั้นแก้วหูทะลุ ทั้งนี้ ประสาทหูเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สามารถแก้ไขได้ด้วยการ สวมใส่เครื่องช่วยฟัง

เครื่องช่วยฟัง คืออะไร

อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายเสียงรอบ ๆ ให้ดังขึ้น มีขนาดที่พอดีกับหู ประกอบด้วย ไมโครโฟน (Microphone) เครื่องขยายเสียง (Amplifiers) ลำโพง (Receiver) โดยหลักการทำงาน คือ  

  • ไมโครโฟนจะทำหน้าที่รับเสียงจากภายนอก และส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง
  • เสียงที่ได้รับจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อขยายสัญญาณให้มีกำลังมากขึ้น
  • หลังจากนั้นจะแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกขยายแล้วให้กลับเป็นเสียงอีกครั้ง 
  • และสุดท้ายเสียงที่ถูกส่งมา จะเข้าไปในรูหูผ่านลำโพง

โรคประสาทหูเสื่อมนั้น แม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่เนิน ๆ โดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน หรือหากมีความจำเป็น ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง

ทั้งนี้ผู้ปกครองควรสังเกตพฤติกรรมของเด็กๆ ซึ่งหากพบความผิดปกติ เช่น เรียกแล้วไม่หัน หรือพูดช้า ควรรีบนำเด็กไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย เพื่อเข้ารับการรักษา เนื่องจากอาจเข้าข่ายการบกพร่องทางการได้ยิน 

หมายเหตุ ไม่ควรฟังเสียงเกิน 85 เดซิเบล ติดต่อกันเกิน 8 ชั่วโมง (เสียงเกมยิงปืน มีระดับความดังอยู่ที่ 88-91 เดซิเบล) แต่ในบางกรณีหากได้ยินเสียงดังระยะใกล้ ๆ ก็อาจทำให้ประสาทหูเสื่อมฉับพลันได้ เช่น เสียงปืน เสียงประทัด เป็นต้น 

จากผลสำรวจล่าสุดในปี 2567 ผู้ที่เล่นวิดีโอเกมเป็นประจำมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียการได้ยิน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> ผลสำรวจชี้ การเล่นเกม ติดต่อกันเป็นเวลานาน: มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียการได้ยิน <<

เรามักจะพบเห็นคนที่ใช้งาน เครื่องช่วยฟัง เป็นผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้โรคประสาทหูเสื่อม หรือ การสูญเสียการได้ยิน นั้นไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวในกลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงานอีกต่อไป

ดังนั้นเราควรเอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวขึ้น

หากท่านใดสนใจอยากปรึกษาเกี่ยวกับ เครื่องช่วยฟัง ประสาทหูเทียม สามารถติดต่อมาได้ที่ hearLIFE เรามีผลิตภัณฑ์ที่พร้อมรองรับทุกปัญหาการได้ยิน และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาการได้ยินที่พร้อมให้คำปรึกษา และบริการ

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ

image by Freepik

Line Official : @hearlifeth

Facebook: https://www.m.me/hearlifethai

 

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *