พัฒนาการทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

“ภาษา” ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารเราทุกคนต่างคุ้นเคยกับการสื่อสารตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นอวัจนภาษา(ท่าทาง) หรือ วัจนภาษา (ภาษาพูด) แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะมีความแตกต่างจากเด็กปกติ

เนื่องจากพัฒนาการทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและเด็กปกติในระยะแรกๆจะมีความคล้ายกันในการร้องไห้เพราะต้องการสื่อให้ผู้ใหญ่รับรู้ถึงความต้องการ ต่อมาจะมีการเล่นเสียงกับตนเอง เมื่อมีการพัฒนาเพิ่มเด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะเริ่มพูดอ้อแอ้ (Babbering) ตอบโต้กับพ่อแม่มากขึ้น ส่วนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะเริ่มหยุดชะงักการเล่นเสียง เนื่องจากไม่ได้ยินเสียงสะท้อนกลับ แต่รับรู้จากการเห็นคนทำรูปปากขยับขึ้นลง แต่ไม่ได้ยินเสียง ดังนั้นเด็กเหล่านี้จะเริ่มใช้สายตาแทน ภาษาของเด็กจึงไม่สามารถพัฒนาให้เทียบเท่าเด็กปกติได้ เนื่องจากเด็กไม่ได้มีโอกาสในการฝึกฝนการใช้อวัยวะในการเปล่งเสียงพัฒนาการจึงลดลงไปจนถึงขั้นพูดไม่ได้ ทั้งในความเป็นจริงแล้ว อวัยวะในการพูดเป็นปกติ

ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงพัฒนาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและเด็กปกติในช่วงอายุ 2 ปีแรกจนถึง 4 ปีก่อนตามที่ศรียา นิยมธรรม และประภัสสร นิยมธรรม ได้กล่าวถึงพัฒนาการทางภาษาของเด็กปกติและเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินดังนี้

2 ปีแรก

  • เด็กปกติ

  1. จะมีการเล่นเสียงในช่วงปีแรก และการเล่นเสียงนี้จะดำเนินไปเรื่อยๆ ถ้าพ่อแม่ช่วยกระตุ้นและให้รางวัลก็จะยิ่งมีการเล่นเสียงมาก
  2. ประมาณ 6 เดือนขึ้นไปจะมีการเล่นเสียงและสามารถทำเสียงต่างๆได้เกือบหมดเสียงใดที่ไม่ใช้ในภาษาพูดของตนก็จะค่อยๆหายไปเนื่องจากการได้รางวัลเฉพาะเสียงที่มีความหมาย
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

  1. เริ่มมีการเล่นเสียงระยะเดียวกับเด็กปกติ แต่จะลดน้อยลงและจะหยุดเมื่ออายุประมาณ 4-6 เดือนขึ้นอยู่กับระดับการสูญเสียการได้ยินและการกระตุ้นของพ่อแม่ หากได้รับรางวัลการเล่นเสียงก็อาจยังดำเนินต่อไปได้โดยเฉพาะพวกที่สูญเสียงการได้ยินผ่านทางกระดูก (Bone Conduction loss) จะมีการเล่นเสียงมากขึ้นเพราะได้ยินเสียงตัวเอง
  2. มีการเล่นเสียงบ้าง หรือแทบไม่มีการเลียนเสียงเลย การเลียนเสียงเป็นเรื่องยาก เด็กใช้วิธีเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่ดดยการร้องไห้เป็นส่วนใหญ่

  • เด็กปกติ

  1. สามารถพูดคำแรกได้เมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ โดยมีพัฒนาการจากการเล่นเสียงและการให้รางวัล
  2. การแสดงออกทางภาษา เด็กสามารถรู้จักคำต่างๆได้ประมาณ 50-250 คำ ในระยะ 2 ขวบ การใช้ไวยากรณ์ยังคงผิดๆถูกๆ และยังใช้ภาษาพูดย่อๆสั้นๆ (Telegraphic speech) การเรียนรู้ใช้ท่าทางประกอบคำพูดยังคงมีอยู่บ้างเช่นกัน
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

  1. ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ ในกรณีที่หูหนวกมาแต่กำเนิด ถ้าเป็นกลุ่มหูตึงก็จะมีพัฒนาการที่ล่าช้าไป
  2. การติดต่อกับผู้อื่นมักใช้ท่าทางเป็นส่วนใหญ่ในด้านการหัดพูดเด็กพอจะทำ รูปปากขอคำที่ต้องการพูด แต่อาจไม่มีเสียงออกมา แต่ยังรู้จักคำศัพท์น้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความบกพร่องทางการได้ยินและการรับรู้ภาษาของเด็ก

อายุ 2-4 ปี

  • เด็กปกติ

  1. สามารถใช้ประโยคบอกเล่า ประโยคคำถามได้ถูกต้อง
  2. ในการติดต่อกับผู้อื่นมักใช้ภาษาพูดเป็นส่วนใหญ่
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

  1. เด็กหูหนวกเริ่มเข้าใจภาษาโดยการอ่านริมฝีปากและสีหน้าท่าทางแทบไม่มีการแสดงออกทางภาษาพูดเลย หรือหากมีเพราะได้รับการฝึกฝนก็น้อยมาก ส่วนเด็กหูตึงอาจพูดได้บ้างเล็กน้อย ถ้ามีเครื่องช่วยการได้ยินและได้รับการฝึกหัด
  2. เด็กจะใช้ภาษาพูดในการติดต่อกับผุ้อื่นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการฝึกฝนที่เคยได้รับ

  • เด็กปกติ

  1. คำศัพท์ด้านการแสดงออกทางภาษามีประมาณ 2,000 คำ เมื่ออายุราว 4 ปี จะเรียนรู้หน้าที่ของคำ การจัดหมวดหมู่ของคำ รู้จักใช้คำในตำแหน่งต่างๆ เช่น นามคุณศัพท์ ฯลฯ ทั้งในประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม สามารถเอาคำที่รู้จักใหม่ผูกประโยคได้เองโดยทันที
  2. มักจะชอบ และเพลิดเพลินสนุกสนานไปกับคำพ้อง บทกลอน จังหวะของคำในบทกลอน บทดอกสร้อย ชอบฟังนิทาน ชอบเรื่องเพ้อฝัน และเรื่องมหัศจรรย์ ชอบจังหวะสูงต่ำของเสียงหรือท่วงทำนอง แม้จะไม่สามารถเข้าใจเนื้อความ สามารถจดจำบทโคลงกลอน หรือบทดอกสร้อยที่ว่านี้ได้ และสามารถพูดซ้ำบทกลอนหรือถ้อยคำดังกล่าวได้ การเรียนรู้เหล่านี้เป็นไปอยางไม่รู้สึกตัว ได้รู้จักคำต่างๆจากที่พบในบทกลอนและสามารถเข้าใจไปด้วย
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

  1. เด็กที่หูหนวกก่อนถึงวัยนี้จะมีคำศัพท์ด้านการแสดงออกทางภาษาประมาณ 5-25 คำ ส่วนเด็กหูตึงจะมีคำศัพท์ด้านนี้ประมาณ 100-500 คำ เด็กหูหนวกยังไม่สามารถใช้คำที่รู้จักได้อย่างถูกหลักไวยากรณ์ คำที่รู้จักส่วนใหญ่มักเป็นคำนามง่ายๆ และจะรู้จักคำนั้นในสถานการณ์ที่ถูกสอน ไม่สามารถนำคำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆได้ แม้เมื่อโตจนถึงอายุ 8 ปี
  2. ไม่มีดอกาสเช่นนี้ ในกรณีของเด็กหูหนวกหรือหูตึง นอกจากกลุ่มหูตึงเล็กน้อยและได้ใส่เครื่องช่วยฟังและได้รับการฝึกฝนแล้ว แต่ไม่ได้เพลิดเพลินกับถ้อยคำเท่าเด็กปหติ อาจสนใจลีลา จังหวะของทำนองการพูด การอ่านมากกว่า

 

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *