การขึ้นบินนั้นอาจก่อให้เกิดความตึงเครียดและอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณปลายประสาทได้สำหรับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยิน  ข้อแนะนำต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางประการเกี่ยวกับวิธีที่ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังสามารถดูแลรักษาตัวเองและเครื่องช่วยฟังให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เกือบทุกคนจะต้องขึ้นเครื่องบินอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต การสูญเสียการได้ยินสามารถทำให้เกิดความยุ่งยากได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณใส่เครื่องช่วยฟัง อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้เครื่องช่วยฟังจำนวนมากที่มีประสบการณ์ในการเดินทางด้วยเครื่องบิน บทความนี้จึงทำการรวบรวมสถานการณ์และแบ่งปันประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้เริ่มต้นใช้เครื่องช่วยฟังผ่านกระบวนการขึ้นเครื่องและสามารถอยู่บนเครื่องบินได้อย่างง่ายดายที่สุด

ก่อนออกเดินทาง

การเตรียมตัวก่อนออกเดินทางเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งจำเป็นต่างๆจะเป็นถูกจัดเตรียมไว้อย่างพิถีพิถัน ในขณะที่สิ่งเล็กน้อยจะถูกมองข้ามไปได้ เช่น ยาแก้ปวด ที่ชาร์จโทรศัพท์ เป็นต้น ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังจึงต้องจัดลำดับให้เครื่องช่วยฟังและอุปกรณ์เสริมต่างๆเป็นสิ่งจำเป็นลำดับต้นๆ จึงควรจะเป็นสิ่งแรกที่จัดเตรียมเพื่อการเดินทางและเป็นสิ่งสุดท้ายที่ควรตรวจสอบก่อนออกจากบ้าน นอกจากนี้เครื่องช่วยฟังนั้นยังไม่ควรบรรจุอยู่ในกระเป๋าเดินทางที่ต้องโหลดใต้ท้องเครื่อง เพราะหากเกิดการสูญหายหรือถูกขโมยอาจส่งผลกระทบต่อการเดินทางของคุณอย่างจริงจัง ด้วยเหตุผลนี้จึงควรทำการเก็บเครื่องช่วยฟังและแบตเตอรี่สำรองไว้ในกระเป๋าที่อยู่ติดกับตัวและสามารถพกพาได้สะดวก

อุปกรณ์ที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการได้ยินของคุณมีดังนี้

  • แบตเตอรี่สำรอง คุณอาจไม่สามารถหาซื้อแบตเตอรี่สำหรับเครื่องช่วยฟังได้ในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆดังนี้การเตรียมแบตเตอรี่สำรองไปเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานเป็นสิ่งจำเป็นมาก
  • ที่ชาร์จ กรณีเครื่องช่วยฟังของคุณเป็นเครื่องที่ใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเตรียมสายชาร์จและแท่นชาร์จไว้เรียบร้อยแล้ว
  • เครื่องดูดความชื้น การใช้เครื่องนี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องช่วยฟัง ยิ่งคุณต้องเดินทางไปสถานที่ที่มีความเย็นหรือความชื้นสูงจะยิ่งสร้างโอกาสให้เกิดความชื้นสะสมภายในตัวเครื่องและเป็นอันตรายต่อวงจรภายในได้ ดังนั้นการพกพาเครื่องดูดความชื้นจึงถือเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอีกอย่างนึงด้วย
  • ชุดทำความสะอาดแน่นอนว่าการบำรุงรักษาเครื่องช่วยฟังไม่ควรมีวันหยุด เนื่องจากการละเลยการทำความสะอาดอาจทำให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรกและทำให้เครื่องช่วยฟังเป็นแหล่งเชื้อโรคได้
  • อุปกรณ์เสริมที่จำเป็น ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์เสริมสำหรับการเชื่อมต่อกับบลูทูธจะช่วยให้คุณสามารถใช้เครื่องช่วยฟังได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในขณะท่องเที่ยวได้

ระหว่างการเดินทาง

หลายคนที่ใช้เครื่องช่วยฟังคิดว่าการเดินทางภายในสนามบินเป็นสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุด เนื่องจากเสียงภายในสนามบินจะมีเสียงที่รบกวนมากมาย ทั้งเสียงผู้คนมากมาย เสียงจากเครื่องขยายเสียง เสียงจากเจ้าหน้าที่ประกาศรายละเอียดต่างๆ ทำให้ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังหลายคนไม่สามารถฟังเสียงคำพูดของสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมเดินทางได้ชัดเจนมากนัก ซึ่งคุณอาจหลีกเลี่ยงได้โดยการเข้าไปอยู่ในพื้นที่เฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ/พื้นที่สำหรับผู้พิการ หรือพยายามบอกคู่สนทนาถึงความยากลำบากในการรับฟังเสียงของคุณ หากพวกเขารู้ถึงข้อจำกัดอาจพยายามหาบริเวณที่เงียบสงบหรือหาวิธีสื่อสารกับคุณเพื่อให้คุณสามารถฟังเสียงได้ชัดเจนมากขึ้น แต่หากคุณรู้สึกว่าเสียงรบกวนภายในสนามบินทำให้คุณรำคาญมาก อาจจะต้องทำการลดระดับเสียงจากเครื่องช่วยฟังลงเล็กน้อยเพื่อให้ไม่รู้สึกว่าเสียงรอบข้างดังจนเกินไป

เคล็ดลับการเตรียมพร้อมก่อนเครื่องบินขึ้น 9 ประการ

  • รู้สึกตัวในระหว่างเครื่องบินขึ้นและลงอยู่เสมอ หากคุณเผลอหลับไปอาจไม่สามารถรับมือกับความกดอากาศสูงในระหว่างเครื่องขึ้นหรือลงได้ดีนัก
  • แจ้งแอร์โอสเตสถึงปัญหาการได้ยินของคุณ พวกเขายินดีที่จะให้ความช่วยเหลือหากคุณต้องการ
  • ปิดเครื่องช่วยฟังของคุณในระหว่างเครื่องขึ้นและลง
  • อย่าใส่เครื่องช่วยฟังไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกง เพราะง่ายต่อการลืมหรือเกิดการแตกหักเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ที่อุดหูในระหว่างเครื่องบินขึ้นและลง เนื่องจากพนักงานตอนรับหรือกัปตันอาจมีข้อความที่จำเป็นจะต้องประกาศให้รับทราบ
  • เพิ่มระดับเสียงจากเครื่องช่วยฟังในระหว่างคำแนะนำ แม้ว่าคุณจะเคยได้ยินข้อความหล่านี้มาก่อน แต่คุณจะต้องให้ความใส่ใจกับเจ้าหน้าที่การบินในการแนะนำขั้นตอนในการปฏิบัติตัวบนเครื่องบินอย่างเคร่งครัด
  • ใช้โปรแกรมตัดเสียงรบกวนเพื่อให้การเดินทางภายในเครื่องบินเป็นไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะการตัดเสียงรบกวนในขณะที่มีเสียงเครื่องยนต์ทำงาน
  • เคี้ยวหมากฝรั่งก็เป็นอีกเคล็กลับหนึ่งที่จะช่วยลดอาการหูอื้อที่เกิดจากการปรับความดันได้
  • จองที่นั่งบริเวณด้านหน้าของเครื่องบิน เสียงเครื่องยนต์มักจะอยู่บริเวณด้านหลัง การนั่งด้านหน้าจะทำให้ลดเสียงก้องจากเครื่องยนต์ได้

หลังการเดินทาง

หลายคนสงสัยว่าการขึ้นเครื่องบินอาจทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินได้หรือไม่ เนื่องจากบางคนมีอาการหูอื้อหลังจากลงจากเครื่องบินแล้ว ซึ่งอาการดังกล่าวมักจะค่อยๆหายไปได้เองในช่วงระยะเวลาหนึ่งและอาการเหล่านี้จะเป็นแบบชั่วคราวเท่านั้น หากมีอาการดังกล่าวเป็นระยะเวลานานควรจะไปพบแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับการได้ยินและหาสาเหตุที่แน่ชัดต่อไป แต่ความเสี่ยงที่เกิดจากการขึ้นเครื่องบิน นั่นคือ การสัมผัสเสียงรบกวนจากเครื่องยนต์ที่ดังต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งเสียงดังกล่าวถือเป็นเสียงรบกวนที่อาจทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินได้

การเตรียมพร้อมและการปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นจะช่วยสร้างความมั่นใจและช่วยให้การเดินทางเป็นไปอย่างปลอดภัยไร้กังวล

 

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *