เป็นเรื่องปกติของผู้ที่มีการสูญเสีย การได้ยิน ซึ่งสามารถได้ยินเสียงของบุคคลอื่นแต่ไม่สามารถเข้าใจคำพูดทั้งหมดได้อย่างชัดเจน อย่าพยายามคิดเอาเองว่าผู้อื่นพูดไม่ชัดเจน หรือมีอาหารอยู่ในปาก พึงระลึกไว้ว่าหากคุณได้ยินแต่มีปัญหาในการเข้าใจหรือแปลความหมาย   คำพูดที่พูดออกมาออกมาพร้อมกัน ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ผู้พูด แต่อาจจะเกิดจากการสูญเสียการได้ยิน ท่านควรเรียนรู้ที่วิธีการปรับตัว สิ่งต่อไปนี้เป็นสิ่งที่จะช่วยท่านได้

  1. จำไว้ว่าระยะมีประสิทธิภาพที่สุดในการสื่อสารคือ 3 ถึง 6 ฟุต จากผู้พูด เมื่อผู้ที่พูดใช้เสียงสนทนาปกติและมีเสียงรบกวนน้อย
  2. บอกครอบครัวและเพื่อนของท่านให้พูดกับท่านเพียงผู้เดียวเมื่อพวกเขาอยู่ในห้องเดียวกันและควรใส่ใจในการพูดกับท่านเพียงผู้เดียว
  3. บอกให้ผู้พูดทราบว่าท่านมีปัญหาการได้ยินและบอกว่าท่านจะได้เข้าใจมากขึ้นหากพวกเขามองมาที่ท่านและพูดช้าๆและชัดเจน
  4. พยายามหาหัวข้อของการสนทนาให้เร็วเท่าที่จะเป็นไปได้ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้การถาม
  5. ให้ความสนใจของการมองและการฟังของท่านไปยังผู้พูด
  6. ให้ความสนใจในการสนทนาแม้ว่าการฟังและการอ่านปากจะมีความยากลำบากเพียงใด
  7. มีความมั่นใจในความสามารถในการฟังและการอ่านปากของท่าน อย่ายอมแพ้เมื่อท่านจับคำพูดอะไรไม่ได้เลย
  8. หากไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด อย่าแสดงอาการมั่นใจมากจนเกินไป อย่าแกล้งหรือแสร้งว่าเข้าใจ ถามผู้พูดเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ท่านพลาดไปดีกว่าพูดสิ่งที่ผิดไปซ้ำๆ
  9. เพ่งมองไปที่ปากของผู้พูดตลอดเวลา ใช้หางตาในการดูสีหน้าท่าทางของผู้พูด
  10. ขยับเพื่อหาตำแหน่งที่มีแสงเพียงพอบนหน้าของผู้พูด แสงไม่ควรจะอยู่หลังผู้พูดหรือแยงตาท่านจนมองไม่ชัด
  11. อย่าเพิ่งกังวลเมื่อพบกับความยุ่งยากในการฟังคำหรือวลีเดียว หากฟังต่อไปเรื่อยๆ บริบทต่างๆ จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
  12. มองและฟังเพื่อจับใจความสำคัญของคำและวลี ส่วนคำอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นไม่ต้องสนใจฟัง
Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *