อายุที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบโดยตรงต่อการสูญเสียการได้ยินและมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆบุคคลที่มีการสูญเสียการได้ยินจะเริ่มมีผลกระทบต่อการฟังเสียงสนทนาในบริเวณที่มีเสียงรบกวนจึงปลีกตัวออกจากสภาพแวดล้อมดังกล่าวสัญญาณอันดับแรกที่บ่งชี้ว่าเริ่มมีปัญหาทางการได้ยินคือการเพิ่มเสียงโทรศัพท์ขึ้นจากการใช้งานปกติความสามารถจับคำพูดในระหว่างมีการสนทนาผ่านโทรศัพท์และเมื่อความยากลำบากส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันบุคคลเหล่านั้นจะแยกตัวออกจากสังคมทำให้มีปัญหาด้านจิตใจจนนำไปสู่โรคทางร่างกายได้

มีการศึกษาที่ระบุว่าการประเมินใส่เครื่องช่วยฟังในผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินจำนวน 66 คนหลังจากใช้เครื่องเป็นเวลา  3 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่เริ่มใส่เครื่องช่วยฟังตั้งแต่เริ่มมีปัญหา สามารถลดอัตราการเกิดโรคอัลไซเมอร์ โรคซึมเศร้าและลดโอกาสในการแยกตัวออกจากสังคม ซึ่งสัมพันธ์กับการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Michigan ที่ตีพิมพ์ใน Journal of American Geriatrics Society ได้ทำการศึกษาความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

 

หลังจากใช้เครื่องช่วยฟังเป็นระยะเวลา 3 ปี เทียบกับบุคคลที่มีปัญหาการได้ยินแต่ไม่ใช้เครื่องช่วยฟัง พบว่ามีอัตราเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์น้อยลงถึง 18% และอัตราเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับทางจิตเวชลดลงถึง 11% รวมถึงอัตราเสี่ยงต่อการแยกตัวออกจากสังคมลดลง 13% หากผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินได้รับการรักษาและใส่เครื่องช่วยฟังในระยะเริ่มต้น จะทำให้บุคคลนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพในอนาคตที่ลดลงด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีการป้องกันไม่ให้ภาวะการสูญเสียการได้ยินเป็นมากขึ้น Elham Mahmoudi นักเวชศาสตร์ครอบครัว มหาวิทยาลัย Michigan จึงกล่าวไว้ว่า “ระบบการดูแลเรื่องสุขภาพการได้ยินและการให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ในการใช้เครื่องช่วยฟังจึงเป็นสิ่งจำเป็น” 

สาเหตุที่มีการเข้ารับการรักษาอย่างล่าช้า

กลุ่มผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียการได้ยินมีเพียงแค่ 12% ที่ยอมรับการช่วยเหลือด้านการได้ยินแม้ว่าพวกเขาจะมีสิทธิในการเบิกเครื่องช่วยฟังก็ตามในอีกด้านหนึ่งการดูแลด้านการได้ยินในประเทศสหรัฐอเมริกาถึงจะมีระบบที่เป็นมาตรฐานในการบริการโดยนักแก้ไขการได้ยินทั้งด้านการประเมินการได้ยินลองเครื่องช่วยฟังและการติดตามดูแลผลหลังจากการใส่เครื่องช่วยฟังแต่ก็มีค่าใช้จ่ายก็สูงหลายพันดอลล่าห์เช่นกันจากคำพูดของ Berbara Kelley ผู้อำนวยการสมาคมการสูญเสียการได้ยินแห่งอเมริกา (Hearing Loss Association of America: HLAA) กล่าวไว้ว่า “มีคนจำนวนมากพบว่าตนเองมีปัญหาด้านการได้ยินแต่ก็ยังคงเพิกเฉยและใช้เวลาอย่างน้อย 7-10 ปีจึงจะยอมเข้ารับการรักษาด้านการได้ยินโดยให้เหตุผลว่าค่าใช้จ่ายเป็นอุปสรรคสำคัญในการใช้เครื่องช่วยฟัง”  แต่ก็มีอีกหลายปัจจัย เช่น ความกลัว ความอาย ความเหมาะสมและความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่ทำให้ผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินไม่เข้ามารับการรักษา จึงทำให้มีบุคคลจำนวนไม่น้อยที่ปฏิเสธการช่วยเหลือในระยะแรก

ความหวังของผู้สูญเสียการได้ยิน

ปัจจุบันการแข่งขันทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยฟังมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆทำให้ผู้สูญเสียการได้ยินได้รับประโยชน์มากขึ้นทั้งในแง่ของเทคโนโลยีที่ทันสมัย การรองรับการสูญเสียการได้ยินที่ครอบคลุมมากขึ้นและราคาที่ถูกลง ซึ่งผู้ใช้เครื่องช่วยฟังที่ประสบความสำเร็จมักจะเป็นผู้ที่แสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆที่ตอบโจทย์ความบกพร่องทางการได้ยินของบุคคลนั้นได้มากที่สุด ถึงเวลาแล้วที่ผู้ที่สูญเสียการได้ยินจะเข้าสู่การช่วยเหลือด้วยเครื่องช่วยฟังที่ครอบคลุมในทุกด้านเพื่อกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพเช่นเดิม

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *