ผู้ใช้งานเครื่องประสาทหูเทียมหลายคนอาจเคยถูกถามคำถามที่บางครั้งรู้สึกว่าตอบได้ยากและไม่รู้จะอธิบายยังไงให้ผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับเสียงที่ได้ยินหลังผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม

ในเส้นทางการได้ยินของคุณ มักจะมีเพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และบุคคลอื่นๆ ที่ผ่านมาในชีวิตของคุณ อยากจะทราบถึงเทคโนโลยีสุดพิเศษนี้ นั่นก็คือ เครื่องประสาทหูเทียมของคุณ ซึ่งผู้คนมักให้ความสนใจในเทคโนโลยีที่พวกเขาไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก

ดังนั้นพวกเขาก็มักจะมีคำถามเพื่อที่จะได้รู้จักกับเครื่องประสาทหูเทียมมากขึ้น ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับการใช้เครื่องประสาทหูเทียม คุณอาจรู้สึกยินดีที่มีโอกาสได้พูดคุยเกี่ยวกับวิธีการทำงานของเครื่องประสาทหูเทียม และเครื่องประสาทหูเทียมช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตคุณให้ดีขึ้นอย่างไร

       ในบทความนี้ เราจะแบ่งปันเคล็ดลับในการตอบคำถามที่ผู้คนมักถามบ่อยๆ เกี่ยวกับเครื่องประสาทหูเทียมของคุณ

เริ่มจาก ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการได้ยินของคุณก่อน

ไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าไหร่ สิ่งสำคัญคือ การยอมรับว่าการฝังประสาทหูเทียมนั้นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณ หากคุณเข้าใจการได้ยินของคุณ มันจะช่วยให้คุณสามารถอธิบายได้อย่างมั่นใจว่าอุปกรณ์ของคุณนั้นทำงานอย่างไร และมีประโยชน์กับคุณอย่างไร สิ่งนี้จะช่วยตอบคำถามทางสังคมและหลีกเลี่ยงการถูกกลั่นแกล้งในวัยรุ่นได้

สำหรับผู้ปกครองของเด็กๆ ที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม เราแนะนำให้ท่านจัดทำสมุดบันทึกเกี่ยวกับการได้ยินของพวกเขา เพื่อใช้สำหรับอธิบายถึงการสูญเสียการได้ยิน ขั้นตอนเกี่ยวกับเส้นทางการได้ยิน และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินของพวกเขา โดยสิ่งนี้จะช่วยให้ลูกของคุณ ได้ซักซ้อมบทสนทนาเกี่ยวกับการได้ยินของเขาที่จะเกิดขึ้นกับครอบครัวและเพื่อน รวมถึงเมื่อลูกของคุณเข้าโรงเรียน พวกเขาจะสามารถพูดคุยเกี่ยวกับอุปกรณ์ของเขาด้วยตนเองมั่นใจ

 คำถามทั่วไป และเคล็ดลับการตอบ

  • คุณรู้สึกอย่างไรกับเสียงที่ได้ยินผ่านเครื่องประสาทหูเทียม ?

สิ่งนี้จะแตกต่างกันมากในผู้ใช้งานแต่ละคน และมีเพียงคุณเท่านั้นที่รู้ว่าประสบการ์ณการได้ยินเป็นอย่างไรผ่านมุมมองของตัวคุณเอง แม้ในบางเว็บไซต์จะมีการจำลองเสียงในลักษณะคล้ายเสียงหุ่นยนต์และเสียงดนตรี

หากคุณใช้เครื่องประสาทหูเทียมตั้งแต่เด็ก เสียงนี้จะเป็นสิ่งเดียวที่คุณคุ้นเคยและคุณจะไม่สามารถเปรียบเทียบเสียงนี้กับเสียงที่ผู้ที่มีการได้ยินปกติได้ยินได้

แต่ในกรณีที่คุณเคยได้ยินมาก่อนและได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในภายหลัง คุณจะมีจุดที่สามารถเปรียบเทียบเสียงได้มากกว่า

ฉะนั้นในคำถามนี้คุณควรจะพูดคุยอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา เนื่องจากเพื่อนและครอบครัวของคุณ อยากรู้ว่าประสบการณ์การได้ยินจากเครื่องประสาทหูเทียมของคุณนั้นเป็นอย่างไร

  • คุณจะต้องใส่เครื่องประสาทหูเทียมไปตลอดหรือไม่?

คำตอบก็คือ “ใช่” เนื่องจากเครื่องประสาทหูเทียมไม่ได้ซ่อมแซมอวัยวะภายในหรือทำให้หายจากการสูญเสียการได้ยิน แต่เครื่องประสาทหูเทียมไปช่วยกระตุ้นโดยตรงที่ประสาทการได้ยิน ฉะนั้นคุณจะต้องสวมใส่เครื่องประสาทหูเทียมเพื่อรับเสียงอยู่เสมอ

  • ทำไมคุณถึงได้ยินได้ไม่ดีนักในที่ที่มีเสียงรบกวน?

แม้เครื่องประมวลเสียงจะมีเทคโนโลยีที่ดี เพื่อช่วยในการแยกแยะเสียงคำพูดจากเสียงอื่นๆ เพื่อให้คุณได้ยินได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าคุณอยู่ในที่ที่มีผู้คนมากมายพูดคุยพร้อมกัน เครื่องประมวลเสียงจะไม่สามารถทราบได้ว่าเสียงไหนเป็นเสียงที่คุณต้องการที่จะฟังให้ชัดเจนมากที่สุด ดังนั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินของคุณเป็นสิ่งจำเป็น เพราะมันจะช่วยให้คุณสามารถฟังได้ดีขึ้นในสถานการณ์ที่มีเสียงรบกวนต่างๆ

  • คุณสามารถขึ้นเครื่องบินได้หรือไม่?

คำตอบคือ ได้!!! เมื่อคุณต้องผ่านระบบรักษาความปลอดภัยของสนามบิน การพกบัตรประจำตัว (Identification card) เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่สนามบินจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากมันจะช่วยให้เจ้าหน้าที่สนามบินเข้าใจได้ง่ายขึ้นถึงสาเหตุที่คุณต้องปฏิเสธการเข้าเครื่องตรวจจับโลหะ และระหว่างการโดยสารบนเครื่องบิน คุณสามารถเลือกที่จะใส่หรือถอดเครื่องประมวลผลเสียงก็ได้ นั่นขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ

  • คุณสามารถทำ MRI ได้หรือไม่?

ความปลอดภัยสำหรับการทำ MRI มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ประสาทหูเทียม เนื่องจากเครื่องประสาทหูเทียมมีแม่เหล็กอยู่ภายใน และแม่เหล็กภายในนี้ สามารถได้รับผลกระทบจากการทำ MRI

ในช่วงชีวิตผู้คนเกือบทุกคนจะต้องได้รับการทำMRI ดังนั้นเครื่องประสาทหูเทียม MED-EL ทุกเครื่องในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จึงได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถเข้าทำMRI ได้อย่างปลอดภัย

  • เมื่อผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว สามารถใช้งานได้ทันทีไหม?

การผ่าตัดฝังเครื่องประสาทหูเทียมนั้นไม่เหมือนกับการสวมใส่แว่นตาที่สามารถมองเห็นชัดได้ในทันที หลักการของเครื่องประสาทหูเทียม คือ ไปกระตุ้นที่ประสาทการได้ยินของคุณโดยตรงและมันจะต้องใช้เวลาพอสมควรสำหรับสมองในการจดจำและตอบสนองต่อการกระตุ้นแบบใหม่นี้ ดังนั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพในส่วนของการฟัง การพูด และการใช้งานอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นหลักสำคัญในการที่จะทำให้คุณได้ยินเสียงที่ดีที่สุดจากเครื่องประสาทหูเทียม

โพสต์นี้เขียนโดย Trudy Smith ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพที่สำนักงานใหญ่ของ MED-EL หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประสาทหูเทียม หรือ เครื่องช่วยฟัง สามารถนัดหมายเพื่อเข้ารับบริการได้ที่ Line : medel.service

Reference:

Eriks-Brophy, A., Durieux-Smith, A., Olds, J., Fitzpatrick, E., Duqette, C. and Whittingham, J. (2007) Facilitators and Barriers to the integration of orally educated children and youth with hearing loss into their families and communities. The Volta Review, V 107 (1), pp5-36. 

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *